Blog 39 : ‘Smart money และจุดอ่อนของ Mass’ จากทฤษฎีผลประโยชน์

.
วันนี้มาแนะนำให้ทุกท่านโหลดบทความ ‘ทฤษฎีผลประโยชน์ และกลยุทธ์การเก็งกำไรตามแนวโน้ม’ ของพี่มด แมงเม่าคลับ มาลองอ่านกันนะครับ

เพราะว่าบทความนี้จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่า ที่จริงแล้วการเล่นหุ้นแบบ Trend Following นั้นไม่ใช่การแห่ตามคนอื่น หรือตาม Mass อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน

>> Download ‘ทฤษฎีผลประโยชน์ และกลยุทธ์การเก็งกำไรตามแนวโน้ม’ โดย แมงเม่าคลับ  : http://goo.gl/OXtHHs <<

ส่วน Blog ตอนนี้ จะเป็นข้อคิดและมุมมองที่ได้จากการอ่านบทความด้านบนครับ

แก่นของหลักการลงทุนที่เล่นตามแนวโน้มของหุ้นอย่าง CANSLIM หรือ Trend Following นั้น คือการเล่นหุ้นตาม ‘Smart Money’ ซึ่งถือว่าเป็นผู้เล่นส่วนน้อยในตลาด แต่มีเม็ดเงินมากพอที่จะก่อให้เกิด Trend ในหุ้นรายตัวหรือตลาด

Smart Money นั้นอาจเป็นได้ทั้ง นักลงทุนรายใหญ่ , สถาบัน-กองทุน หรือ Hedge Fund ฝีมือดีที่กำลังสะสมหุ้น , และเหล่า Insider ของบริษัทที่รู้ข้อมูลข่าวสารก่อนคนส่วนใหญ่ เป็นต้น

การสะสมหุ้นของพวกเขามักจะทำให้เกิดสัญญาณซื้อตั้งแต่ช่วงที่หุ้นอยู่ใน Stage แรกๆของขาขึ้นแต่ละครั้ง รวมถึงสัญญาณขายทำกำไรหลังจากที่หุ้นขึ้นไปมากพอสมควร และถึงเวลาจบรอบของมันแล้ว

อีกประเด็นนึงที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากๆจากบทความก็คือรูปนี้ครับ ที่จริงในบทความพี่มดได้เขียนไว้แล้ว แต่หยิบมาขยายความอีกนิดนึงครับ

(ถ้าไม่ชัดคลิกที่รูปเพื่อดูขนาดใหญ่)

BWlV_VuCMAAlcRX

ถ้าดูจากรูป เราจะเห็นว่า % Trade Win ของนักลงทุนแต่ละกลุ่มนั้นใกล้เคียงกันมาก คือ 48-49% นั่นคือทุกคนมีโอกาสถูก-ผิดเท่าๆกัน แต่สิ่งที่ทำให้ผลตอบแทบเฉลี่ย (CAR) และ %Net Profit ต่างกันอย่างมากก็คือ การควบคุมความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละกลุ่มครับ

%System Max Drawdown (DD) คือการวัดว่ามูลค่าพอร์ตของเราลดลงมากขนาดไหนจากจุดสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา จากรูปจะเห็นว่า กองทุน-สถาบันและนักลงทุนรายย่อยนั้น เวลาที่ผิดจะขาดทุนหนักมาก และก็เป็นสิ่งที่ฉุดให้ผลตอบแทนเฉลี่ยลดลงไปมาก

ซึ่งถ้าเราลองคิดตามความเป็นจริงในตลาดหุ้น ก็จะเห็นว่า ที่จริงแล้วจุดที่ทำให้ผลตอบแทนของแต่ละคนแตกต่างกันมาก ไม่ได้อยู่ที่การเลือกหุ้นได้เก่งกว่าหรือเลือกได้ถูกตัวตลอด (เพราะ %Win พอๆกัน)

แต่มันคือ ‘การควบคุมความเสี่ยง’ ที่จะช่วยประคับประคองไม่ให้พอร์ตเราขาดทุนมากเกินไป หรือขาดทุนจนกลับมาไม่ได้เมื่อเราคิดผิดหรือเมื่อตลาดเป็นขาลงนั่นเองครับ

ซึ่งนี่ถือเป็นจุดอ่อนหรือจุดตายของคนส่วนใหญ่นั่นเอง เพราะที่จริงแล้วทุกคนที่เข้ามาเล่นหุ้นต่างก็มีข้อมูลความรู้ หลักการลงทุน ที่ไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก และความรู้ในปัจจุบันก็หาได้ไม่ยากด้วย ดังนั้น สิ่งที่ทำให้หลายคนยังไม่สามารถทำกำไรได้สม่ำเสมอ หรือยังแพ้ตลาดอยู่บ่อยๆก็คือ Risk Management นั่นเอง

ตัวอย่างของ Risk Management ในเบื้องต้น ที่คนส่วนใหญ่หรือ Mass มักจะขาดไปก็คือ การฝึก Cut loss short & Let profits run และการควบคุม Risk ในการเทรดแต่ละครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุนหนักจนเกินไป (ควบคุม risk ในการเทรดแต่ละครั้งให้ไม่เกิน 1-2% port)

card66

ช่น เราไม่ควรทุ่มสุดตัวกับหุ้นตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไป เพราะถ้าผิดคาดเรามีโอกาสเจ็บหนักมาก เป็นต้น

ระยะหลังมานี้ ผมมักจะเขียนบทความโดยเน้นที่การควบคุมความเสี่ยงมากขึ้น เพราะหลังจากเล่นหุ้นมาซักพักใหญ่ๆ สิ่งที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดในการลงทุนนั้น ไม่ใช่การมุ่งทำกำไรเยอะๆ หรือการที่เราต้องวัดดวงกับหุ้นไม่กี่ตัว เพื่อหวังให้พอร์ตโตเร็วโดยไม่สนใจความเสี่ยง การที่หลายคนพลาดเสียหายหนักในตลาดขาลงจนกลับมายาก ก็มักจะมาจากสาเหตุนี้ (อัดหุ้นไม่กี่ตัว แล้ว cut loss ไม่เป็น)

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่เราต้องรู้จักควบคุมความเสี่ยงให้ดี เพื่อรักษาตัวให้อยู่รอดได้นานที่สุดในตลาดนั่นเองครับ…

(อ่านเพิ่มเติม : Blog 37 : ‘Live longer & Perform better’ – ต้องรอด! )

“ความลับทั้งหมดทั้งมวลของการประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นก็คือ การขาดทุนให้น้อยที่สุดในเวลาที่คุณคิดผิด

และเนื่องจากตลาดมักจะเคลื่อนที่สวนทางกับความคิดของคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ ผมสามารถบอกได้ว่า 95% ของสิ่งที่คุณได้ยินจากรายการทางโทรทัศน์นั้นมาจากความเห็นส่วนตัว

ซึ่งสำหรับผมแล้ว ความเห็นส่วนตัวนั้นแทบจะไร้ค่าอยู่เสมอในตลาดหุ้น ‘ข้อเท็จจริง ราคา และตลาด’ มีความน่าเชื่อถือกว่าความคิดเห็นพวกนั้นมาก”

– William O’neil –

>> Download ‘ทฤษฎีผลประโยชน์ และกลยุทธ์การเก็งกำไรตามแนวโน้ม’ โดย แมงเม่าคลับ  : http://goo.gl/OXtHHs <<

Blog 39 : ‘Smart money และจุดอ่อนของ Mass’ จากทฤษฎีผลประโยชน์

www.sarut-homesite.net

15 ตุลาคม 2013

Author: admin

2 thoughts on “Blog 39 : ‘Smart money และจุดอ่อนของ Mass’ จากทฤษฎีผลประโยชน์

  1. มีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลือกบัตรเครดิตที่ถูกใจ เราช่วยคุณได้ ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ MoneyGuru.co.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.