struggle ในการเทรด ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่เทรดเดอร์ไม่รักษาสมดุลทางอารมณ์
เช่น ตอนช่วงที่ดีก็ฮึกเหิมมากขึ้นเรื่อยๆ ซื้อหุ้นอัดหุ้น จนถึงจุดที่ไม่ค่อยมองความเสี่ยง , ไม่เผื่อว่าอาจเจอช่วงย่อแรง
เริ่มไม่กลัว ในจังหวะที่ควรกลัว
พอเจอตลาดพักแรงย่อลงมาระยะหนึ่ง ถึงกลับมากลัว-หดหู่มากเกินไป
เริ่มใจเสีย ไม่กล้าซื้อหุ้นในจังหวะที่ควรลองซื้อ
ไม่ยอมทำการบ้าน หาโอกาสและลองเทรดไปตามระบบ
พอรู้ตัวอีกทีหุ้นก็ทยอยกลับตัว วิ่งขึ้นไปหมดแล้ว
ต้องอย่าลืมว่า ปกติเราจะคัดกรองหุ้นที่น่าสนใจได้ง่ายที่สุด ก็ตอนที่ตลาดยังดูไม่ดีหรือมีแต่ข่าวร้าย
แต่หุ้นกลุ่มนั้นมีอาการดีกว่าตัวอื่นอย่างชัดเจน (simple relative strength)
ถ้าเราชอบรอให้อะไรดูดีจนชัดเจน ก็อาจจะซื้อหุ้นช้าเกิน ซื้อได้ไม่นานก็มักจะเจอช่วงย่อแรงอยู่บ่อยครั้ง
– ปัญหาจากการใส่อารมณ์กับแต่ละ position มากเกินไป
ตอนกำไรก็ดีใจมาก – อยากบอกให้โลกรู้ว่าเราเก่ง
ตอนขาดทุนก็หงุดหงิด เริ่มใส่อารมณ์กับหุ้น-ตลาด , กับคนรอบตัว
หรือดูเป็นคนที่อารมณ์ขึ้นๆลงๆตามผลกำไรขาดทุนในแต่ละวัน
หากไม่ระวัง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดแรงเหวี่ยงทางอารมณ์ทุกครั้งที่เราเทรด
และอาจทำให้กดดันจนเริ่มเครียดสะสม ถ้าเรายังไม่รู้ตัว ไม่เริ่มปรับสมดุลทางอารมณ์
อันที่จริงแล้ว ในแต่ละช่วงเราก็ควรมองหาโอกาส ประเมิน risk/reward ไปเรื่อยๆ
>> ประเมินสถานการณ์ ดูอาการตลาด – หุ้นในลิสเป็นหลัก
>> ถ้าเห็นโอกาสก็เข้าเทรดตามสมมติฐาน
ถ้าตลาด-หุ้นยังดูแย่ ก็ทำการบ้านแล้วรอ
ถ้าหุ้นเริ่มดูดีก็ทยอยเทรด ทดสอบหุ้นไปตามปกติของเรา
ไม่ได้ฮึกเหิมเกินไป แต่ก็ไม่ได้กลัวตลาดจนเกินไป
สิ่งสำคัญคือการยอมรับทุกผลลัพธ์ โดยไม่เอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
กำไรก็อย่าดีใจเกินเหตุ ขาดทุนก็อย่าไปอะไรกับมันมากนัก
สรุปบทเรียน แล้วปล่อยวางจากผลการเทรดครั้งก่อน , ทำซ้ำต่อไปเรื่อยๆ
ไม่ใส่อารมณ์กับการเทรดแค่ 1 ครั้ง จากอีกหลายพันหลายหมื่นเทรดในระยะยาวของเรา
การฝึกฝนด้านจิตใจ รักษาอารมณ์ให้สมดุลไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไร จะช่วยให้เราเกิดความสม่ำเสมอขึ้นมาเอง
(emotional balance = consistency)
อย่ามองหาความสม่ำเสมอ ความแน่นอนตายตัวจากตลาด
ความสม่ำเสมอมันต้องเกิดจากอารมณ์และจิตใจของเราเองเท่านั้น
.
Blog 106 : ‘ความสม่ำเสมอเกิดจากภายใน’
22 ธันวาคม 2021