Blog 113 : ‘พฤติกรรมและ price action ในตลาดหมี’

.

พฤติกรรมที่เรามักจะเห็นได้บ่อยในตลาดหมี คือ overreact , overshoot และ high volatility

ธรรมชาติของ bear market คือการเล่นกับอารมณ์หรือ sentiment ของคนในตลาด

ตลาดจะพยายาม trigger ให้เราเกิดอารมณ์หลายอย่าง (ทั้งตอนเด้งและตอนลง)

ส่วนใหญ่จะเป็น FOMO กลัวตกรถตอนเด้ง , กลัวขายหมู , กลัวขาดทุน-กำไรหาย รวมถึงการอยากเอาคืนเร็วๆ

ตัวอย่าง bear market price action ก็เช่น

  • ความผันผวน / เหวี่ยงขึ้นลงแรงกว่าปกติแบบเห็นได้ชัด ในแต่ละวัน-แต่ละสัปดาห์
  • การพยายามประคอง index ของกองทุน โดยใช้กลุ่ม mega cap , big cap ไม่กี่ตัว
  • หรือการพยุงราคาของ big player ที่ถือหุ้นไว้อยู่เยอะ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ต้องหาทางปล่อยของกันออกมา

(หุ้นไทยลองสังเกต price action ตามรายใหญ่ของแต่ละตัว ที่มักจะมี pattern หรือนิสัยคล้ายกัน)

  • ช่วงเด้งต้องรีบลากให้เร็ว ดีดแรงๆ คนจะได้กลัวตกรถหรือไม่อยากคัท
  • หรือดีดแรงติดกันหลายวันเพื่อทำ short squeeze
  • หุ้นเล่นไม่กี่วันก็เลิก ทำให้ถือรันเทรนด์ไม่ค่อยได้
  • บางช่วงหุ้นอาจดูเด้งแรง แต่ซักพักไม่นานก็กลับมาลงต่อ ทำ new low , หรือภาพใหญ่ย่ำอยู่ในกรอบเดิมไม่ไปไหน

(เหมือนตลาดเมกา/จีน 1-2 ปีที่ผ่านมา)

*นิยามทั่วไปของ bear market คือการที่ index ซึมอยู่ใต้เส้น 200 เป็นเวลานาน , ลงมาเกิน 2-3 เดือน แล้วกลับตัวไม่ได้ – เด้งไม่ผ่านเส้น 200

.

พูดอีกอย่างคือเป็นตลาดแนว ‘รีบเล่น รีบเลิก’ เพราะ big player ก็รู้ดีว่า ภาวะตลาดหรือภาพใหญ่ยังไม่ได้หนุนมากนัก

ดังนั้น ถ้าเรารู้ว่าภาพใหญ่ตลาดเป็นอย่างไร ดูแล้วอยู่ในโหมดไหน ก็ไม่จำเป็นต้องตื่นเต้นกับช่วงดีดแรงไม่กี่วัน (ตามที่พี่มาร์กทวิต)

ภาพการดีดแรงๆจะต่างกับช่วงขาขึ้นปกติ ที่มักจะเป็นการขึ้นแบบค่อยๆไต่ระดับขึ้นไป ไม่เหวี่ยงขึ้นเหวี่ยงลงแรงมากนัก

การดีดแรงทำให้คนที่ติดหุ้น ยิ่งไม่อยากคัทเพราะกลัวมันเด้งแรง แต่พอผ่านไปซักพักหุ้นก็มักจะซึมลงต่อ

และทำให้คนที่อยากเล่นกลัวตกรถทุกวัน เพราะหุ้นจะชอบพุ่งเร็ว-เลิกเร็ว ทำให้ต้องคอยเฝ้า คอยเตรียมยิงมากขึ้นไปอีก

เราจึงจะเห็นว่าใน bear market ตลาดมักจะวางกับดักเอาไว้อยู่เป็นระยะ

ไม่ว่าจะเล่นด้วยหลักการไหนก็ตาม มันก็จะมีช่วงที่โดนตลาดล่อได้เหมือนกัน

ตลาดแบบนี้จะเข้ามือสายเทรดเร็ว , day trade , inside-front run มากที่สุด (เปิดก่อนได้เปรียบ)

ส่วนสาย CANSLIM – trend follow ระยะกลาง แน่นอนว่าจะเทรดยากกว่าปกติ

เพราะซื้อก็ช้าขายก็ช้า เนื่องจากแนวนี้จะได้กำไรจากช่วงกลางเทรนด์ (ต้องมีระยะ)

ถ้าคนที่เทรดแล้วรู้สึกควบคุมตัวเองยาก หรือรู้ตัวว่าไม่ใช่ภาวะตลาดที่เหมาะกับตัวเอง

วิธีแก้ที่เรียบง่ายสุดคือหยุดพัก นั่งดูไปซักระยะ หรือปรับมาเทรดช้าลง-ดูภาพใหญ่ , รอจังหวะ shake-out แรงๆมากขึ้น

เพราะเวลาตลาดเข้าโหมด bear market สาย CANSLIM ก็จะไม่ทำอะไรกันมากนัก

เน้นถือเงินสด , go fishing , พักร้อน ฯลฯ (ตามตัว M ในระบบ)

แต่ถ้าเราเลือกที่จะเทรดในช่วงแบบนี้ ก็ต้องรับรู้ว่ามันยังไม่ใช่ภาวะที่ดีนัก

ปรับความคาดหวังและวิธีการให้เหมาะกับภาวะตลาด เมื่อรู้ว่าผิดทางก็ต้องรีบป้องกันตัวไว้ก่อน

อย่าเทรดเพราะแค่เราอยากเทรด หรือคิดว่าต้อง active ตลอดเวลา (ตลาดหุ้นไม่หนีเราไปไหน)

อย่าลืมว่า การขยันเทรดโดยไม่สนใจภาวะตลาดเลย คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด whipsaw / drawdown สะสมได้เยอะและเร็วที่สุด

รวมถึงการเลือกหุ้นที่ต้องคัดให้ดีกว่าปกติ เพราะจะมีหุ้นแค่ 5-10% จากทั้งตลาด ที่เป็นขาขึ้นได้ในภาวะแบบนี้ครับ

Blog 113 : ‘พฤติกรรมและ price action ในตลาดหมี’

20 เมษายน 2023

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.