นิสัยของนักลงทุนระดับโลก : สถาพร งามเรืองพงศ์

มีหนังสือเล่มนึงที่อยากแนะนำให้เพื่อนๆอ่านกันคือ the winning investment habits of Warren Buffett & George Soros

วันนี้ ผมจะนำเนื้อหาบางส่วนที่คิดว่าเป็น highlight ของหนังสือเล่มนี้ มาเล่าให้ฟังกันครับ

มี deadly investment sin อยู่อย่างนึง ที่คนส่วนใหญ่เชื่อกันคือว่า “พวกเขาเชื่อว่า การคาดการณ์ตลาดได้ เป็นสิ่งที่นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมี”

แต่นักลงทุนระดับโลกไม่เชื่อแบบนั้นครับ ในหนังสือเล่มนี้ ก็มีบทสัมภาษณ์ ทั้งส่วนของโซรอส และบัฟเฟตต์ ว่าทำไมทั้งสองถึงไม่เชื่อ สามารถอ่านเต็มๆได้ในหนังสือ ส่วนผมจะลองแชร์มุมมองที่มีต่อประโยคนี้ดู

ผมเองคิดว่า ในภาวะปกติ หุ้นที่มีความแข็งแกร่งจะสามารถแสดงศักยภาพของมันออกมาได้ ในที่นี้ หมายถึงหุ้นที่มีปัจจัยทางพื้นฐานที่โดดเด่นมากๆ แต่ประเด็นก็คือว่า เวลาตลาด crash ต่อให้กำไรของหุ้นเป็นอย่างที่เราคาด แต่ว่าราคาหุ้นก็พร้อมที่จะกลับทิศทางกันแบบตรงกันข้ามได้เลย ทำให้เวลาตลาด crash หุ้นพื้นฐานดีแค่ไหน ร้อยละ 90-95% ก็จะเละหมด ไม่เชื่อลองดูได้ว่า ปลายปี 2008 มีหุ้นกี่ตัวที่ราคาสูงกว่าตอนต้นปี

แต่ประเด็นที่สำคัญคือ จริงๆแล้วไม่มีใครบอกได้ว่าตลาดจะ crash เมื่อไหร่ จะรู้ก็ต่อเมื่อมัน crash แล้ว ผมเองเจ็บตัวน้อยในปี 2008 แต่ก็รู้สึกว่าผมก็ไม่ได้รู้หรอกว่า ตลาดจะแย่ขนาดนั้น เพราะผมล้างพอร์ตประมาณ 590 ถ้าผมรู้จริง ผมคงจะขายตอนดัชนี 880 แล้วจริงไหม

เวลามีคนมาถามผมว่า ตลาดจะเป็นยังไง บางทีผมก็ตอบแบบกวนส้นตีนกลับไปว่า ถ้าผมรู้ผมก็เล่น future รวยไปแล้วสิ ก๊ากกกกกกก และผมตั้งข้อสังเกตว่า หลายคนที่ได้ผลตอบแทนดีๆ ก็ไม่ได้คาดการณ์ได้หรอก และแท้จริงแล้ว ไม่น่าจะมีใครคาดการณ์ได้ เพียงแต่ว่าเวลาที่รู้สึกว่าคิดถูก บางทีเราต้อง let profit run ให้เต็มที่ เพื่อให้มีกำไรเอาไว้มากพอสำหรับเวลาที่เราจะเจ็บตัว และเวลาเราเจ็บตัวก็ต้องเจ็บให้น้อยที่สุด ถ้าเทียบกับเวลาที่เราทำกำไรได้

ผมว่าตลาดหุ้นคือสุดยอดของการมองไปข้างหน้า ตลาดจะคิดเรื่องอนาคตแล้ว discount มาที่ปัจจุบันเสมอ ดังนั้น การพยายามคิดว่าตลาดคิดยังไง ผมว่าเป็นเรื่องที่เราคงไม่สามารถทำได้อย่างแม่นยำพอที่จะคาดหวังผลลัพธ์ของมันได้หรอก จริงๆแล้ว เวลาที่คุณขาดทุนหนัก สิ่งที่คุณต้องอย่าให้เสียไปก็คือว่าใจ คุณอย่ากลัวตลาดมากเกินไป หลายคนผ่านปี 2008 แล้ว กลายเป็นคนกลัวตลาดหุ้นมากเกินไป ทำให้ปล่อยโอกาศดีๆหลุดมือไปเยอะ ผมคิดว่า นักลงทุนควรหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตัวเองควบคุมได้ เช่น ภาวะจิตใจของตัวเอง มากกว่าสนใจในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ เช่น ภาวะตลาด

นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ มีความเชื่อเรื่องการรักษาเงินต้นมาก หลักฐานคือคำพูดนี้

Buffet –1. never lose money 2. never forgot rule no .1

Soros –survive first and make money afterward.

ผมเองมีโอกาสได้ถาม marketing หลายคนว่า จริงไหมว่า นักลงทุนที่คุณดูแลพอร์ตอยู่ ร้อยละ 90% ขาดทุนในหุ้น ก็ได้รับการยืนยันมาว่าจริง จากที่ผมอยู่ในตลาดหุ้นมาหลายปีได้เห็นเลยว่า นักลงทุนประเภทแมงเม่า มักจะซื้อแล้วคิดถึงแต่ตอนกำไร แล้วกำไรนิดเดียวก็อยากจะขาย พอขาดทุนก็เก็บไว้

ผมถามหน่อยว่า ถ้าโลกนี้มันง่ายถึงขนาดว่าไม่ต้องคิดอะไรมาก อยากซื้อก็ซื้อ ได้กำไรก็ขาย ขาดทุนก็เก็บไว้ ถ้ามันง่ายขนาดนั้นจะไปมีคนเจ๊งหุ้นตั้งเยอะเเยะได้ยังไงกันเล่า คุณไม่รู้เรื่องแล้วมาเล่นหุ้น แล้วคุณจะกินเงินใครครับ คนที่ทำการบ้านมากกว่าคุณ กองทุนที่มีความรู้ ต่างชาติที่มีข้อมูลละเอียด กลุ่มไหนครับที่จะมาโง่ให้คุณเอาตังค์ตอบหน่อยครับ แล้วถ้าไม่มีคนเสียตังค์ แล้วเราจะได้ตังค์จากใครล่ะครับ จะเอาเงินในตลาดหุ้นอย่าคิดอะไรง่ายๆครับ อุ๊ย ออกนอกเรื่องมากไปหน่อยต่อๆ

คือ คนที่ได้ตังค์ ที่ผมเห็นส่วนใหญ่ มักจะพูดประเด็นเรื่อง downside ก่อนเสมอ เขามักจะบอกว่า ทำไมหุ้นที่เขาซื้อ ไม่น่าจะทำให้เขาขาดทุนได้ เขามักจะบอกว่า อย่างเลวร้ายที่สุด เขาก็ไม่น่าขาดทุนเกินเท่าไหร่ เนื่องจากพื้นฐานบริษัทดีขึ้นอย่างไร และเขาได้ปันผลจากบริษัทต่อปีเท่าไหร่ เป็นต้น

ข้อต่อมาคือ ความเชื่อผิดๆมักจะคิดว่า ผลตอบแทนสูงจะต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงสูงเท่านั้น

แต่นักลงทุนระดับโลกเชื่อว่า ผลตอบแทนที่สูงจะน่าสนใจ ก็ต่อเมื่อมาพร้อมกับความเสี่ยงที่ต่ำเท่านั้น

สมมุติว่า คุณลงทุนในหุ้นร้อนแรงตัวนึงที่ขึ้นมาเยอะแล้ว มาพร้อมกับข่าวดี สมมุติว่า ข่าวดีที่ว่านี้ดีจริงที่จะทำให้พื้นฐานหุ้นไปได้ต่อ แต่ประเด็นก็คือว่า ถ้าเกิดมันมีอะไรผิดคาดเกี่ยวกับตัวหุ้นขึ้นมาล่ะ หรือว่าถ้าตลาดเกิด crash ขึ้นมาซะก่อนล่ะ คุณจะทำอย่างไร

การที่คุณไปซี้ซั้วะซื้อตอนข่าวดีออกมาตามหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วใครๆก็รู้หมด แล้วอาจจะได้กระแสของ momentum ที่จะไปต่อได้ก็จริง แต่ถ้ามีอะไรผิดคาด มันก็ทำให้คุณเจ็บตัวได้เยอะเหมือนกัน

ผมคิดว่า การที่จะทำให้การลงทุนมีความเสี่ยงต่ำได้อย่างนึงคือ ทำเหมือนที่ buffet พูด ก็คือ ซื้อบริษัทที่ดีที่มีปัญหาแค่ชั่วคราว เพราะว่าตลาดหุ้นมักจะมองอะไรสั้นๆเสมอ ดังนั้น เวลาเกิดอะไรเลวร้ายแม้จะกระทบสั้นๆ แต่หุ้นจะร่วงแรงเกินความเป็นจริงบ่อยๆ คนที่ซื้อตอนนั้นได้ราคาหุ้นที่รองรับสิ่งที่เลวร้ายและไม่คาดฝันบางอย่างไปแล้ว น่าจะทำให้ความเสี่ยงในตอนนั้นลดลงไปได้พอสมควร แต่ในทางกลับกัน ใน long term กลับมี upside สูง แบบนี้เป็นต้น

ความรู้ เป็นสิ่งที่ควรจะทำให้ปรัชญา high risk high return เปลี่ยนเป็น low risk high return ถ้าคุณมีความรู้แล้วคุณยังต้อง high risk เหมือนคนที่ไม่รู้อะไรเลย คุณควรจะพิจารณาตัวเองอย่างหนักได้แล้วครับ

นิสัยของนักลงทุนระดับโลก

Hongvalue’s Blog

สถาพร งามเรืองพงศ์

7 มิถุนายน 2010

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.