Blog 63 : ‘Sentiment vs Market’ – สิ่งที่คนคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

sentiment

ตอนที่เห็นข่าวกับบทความนี้ ผม save link เอาไว้ จะรอดูว่าหลังจากข่าวนี้ออกมาตลาดหุ้นจะเป็นยังไงต่อ

(ข่าวเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2016 ส่วนบทความเขียนวันที่ 25 ก.พ. 2016)

ที่น่าแปลกก็คือ ทั้งตลาดหุ้นสหรัฐและตลาดหุ้นไทย มี bearish sentiment คล้ายกัน ทั้งที่ปัจจัยพื้นฐานของสองประเทศแตกต่างกันมาก สาเหตุน่าจะมาจากข่าวร้ายในช่วงหลังมักจะเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกและประเทศจีนที่คนค่อนข้างกลัวกัน

ผลที่ออกมาก็ตามที่เราเห็นกันนะครับ ช่วงปลายเดือน ก.พ. 2016 ตลาดเริ่มเกิด follow through day เป็น uptrend ส่วนช่วงนี้หุ้นหลายๆตัวก็เริ่มทยอย breakout กันมากขึ้น

set

การที่ SET เป็นขาลงมาตลอดปีที่ผ่านมา ทำให้ sentiment ของคนส่วนใหญ่เริ่มมองหุ้นไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นปี 2016 ที่มีแต่ข่าวร้ายและมุมมองด้านลบออกมาอย่างต่อเนื่อง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้คนยิ่งไม่กล้าเล่นหุ้น ตามข่าวและบทความที่ปรากฏออกมา

โดยทั่วไปแล้วเวลาที่ตลาดเริ่มเป็นขาลงในช่วงแรกคนจะยังไม่กลัวกันมากนัก เพราะว่าข่าวร้ายยังมีออกมาน้อยอยู่ แต่เมื่อตลาดเริ่มลงอย่างต่อเนื่องยาวนาน ข่าวร้ายยังมีออกมาอยู่ตลอด sentiment ของคนในตลาดก็จะเริ่มแย่ลงเรื่อยๆ และมักจะแย่มากที่สุดในจุดที่ตลาดใกล้ที่จะกลับตัว 

ช่วงที่ sentiment แย่ ตลาดยังเป็นขาลงอยู่ ในช่วงเวลานั้นแม้ว่าเราจะควรเทรดอย่างระมัดระวัง แต่ก็ต้องคอยมองหาโอกาสและเฝ้าสังเกตจุดที่ตลาดกับหุ้นใน watch list มีโอกาสกลับตัว เพราะอย่าลืมว่าตลาดหุ้นมักจะขึ้นหรือลงสวนกับความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่อยู่เสมอ…

จำไว้ว่าตลาดกระทิงถือกำเนิดขึ้นในยามที่ผู้คนล้วนสิ้นหวัง

เติบโตขึ้นท่ามกลางความเคลือบแคลงสงสัย

โตเต็มที่ตอนที่ใครๆก็พากันมองโลกในแง่ดี

และตายสนิทเมื่อความหวังอันสวยงามปกคลุมตลาด”

“Bull-markets are born on pessimism, grow on skepticism, mature on optimism and die on euphoria.”

– Sir John Templeton

นอกจากนี้ เมื่อพูดถึงเรื่องการติดตามข่าวสารมากเกินไป แม้ว่ามันจะทำให้เรารู้เยอะ-รู้ทันโลกก็จริง แต่มันก็เป็นเพียงการรู้ในสิ่งที่ใครๆก็รู้และอาจทำให้เรามีมุมมองความคิดคล้ายคนอื่นมากเกินไป (ความเห็นเรื่องเศรษฐกิจ) ซึ่งสำหรับการเล่นหุ้นนั้นการรู้และคิดเหมือนคนอื่น มักจะไม่เป็นประโยชน์มากนักต่อการเล่นหุ้นของเรา

และอย่าลืมว่าข่าวที่ออกมาก็อาจจะมีผลประโยชน์แอบแฝงและเป็นการชี้นำอารมณ์ของ mass ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวไทยหรือต่างประเทศก็ตาม เพราะข่าวเศรษฐกิจการเงินนั้น เป็นอะไรที่คนจำนวนมากให้ความสนใจและติดตามกันอย่างใกล้ชิดในแต่ละวัน ทำให้มีหลายครั้งที่ข่าวสารกับราคาสินทรัพย์ต่างๆจะไม่ไปในทิศทางเดียวกันอย่างที่เราคาดเอาไว้

เราจะเห็นกันอยู่บ่อยครั้งว่า ช่วงที่คนส่วนใหญ่ติดดอยหุ้นมากที่สุด มักจะเป็นช่วงหลังจากมีข่าวดีทางเศรษฐกิจ ตัวเลขทุกอย่างดูดีหมด อนาคตของประเทศดูสดใส

ในทางกลับกัน ถ้าช่วงไหนข่าวร้ายเยอะๆ คนที่มัวติดตามข่าวเศรษฐกิจหรือตัวเลขสำคัญต่างๆทุกวัน ก็จะคิดและกลัวเหมือนกันหมด

เมื่อตลาดเริ่มกลับตัวจริง หุ้นเริ่มทยอยวิ่งขึ้น price & volume ของตลาดและหุ้นรายตัวเริ่มดูดี มีหุ้นกลับมาเข้าระบบของเรามากขึ้นเรื่อยๆ

แต่ถ้าเรายัง bias คิดว่าตลาด ‘น่าจะ’ ยังไม่ดีอยู่ ก็อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสในช่วงต้นๆของการกลับตัวไปอย่างน่าเสียดายครับ…

สมัยก่อนเมื่อหลายปีมาแล้ว ผมก็เคยเป็นคนนึงที่ติดตามอ่านข่าวเศรษฐกิจแทบทุกวัน แต่ในปัจจุบันถ้าเวลาสังเกตหุ้นผมจะให้ความสนใจกับ price volume ของหุ้นใน watch list มากที่สุด

ข่าวสารรายวันไม่ต้องอ่านมากนัก ยกเว้นว่าจะเป็นข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวกับหุ้นที่เราสนใจ

เพราะหุ้นจะดีหรือไม่ดี เดี๋ยวตลาดกับหุ้นจะบอกเราเองครับ

link ข่าว ‘รายย่อยเข้าซื้อหุ้นไทยต่ำสุดรอบ 8 ปี’ | เดลินิวส์ ; http://www.dailynews.co.th/economic/379839

link บทความ ‘Lowest Number Of Bulls In 23 Years!’ ;http://joefahmy.com/2016/02/25/lowest-number-of-bulls-in-23-years/

….

Blog 63 : ‘Sentiment vs Market’ – สิ่งที่คนคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

www.sarut-homesite.net

18 มีนาคม 2016

Author: admin

3 thoughts on “Blog 63 : ‘Sentiment vs Market’ – สิ่งที่คนคาดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.