Blog 30 : ‘Post-Earnings Drift’ – ซื้อหุ้นหลังงบออกช้าไปหรือไม่? + Case Study 9 หุ้นไทย

Behind every major move is a earnings acceleration.

key message ของการเล่นช่วงหลังงบคือ

– โอกาสลงทุนดีๆมักจะเกิดขึ้นหลังตลาดย่อยงบ-ข้อมูลใหม่ไปแล้วซักพัก

– ช่วงก่อนงบ ไม่ว่าหุ้นจะเล่นดีหรือแย่ยังไงก็ตาม แต่ reaction หลังงบจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด (price , volume)

– มองหาหุ้น growth ที่แนวโน้มยังดีต่อไป ถ้าเจอตัวสดใหม่ที่ตลาดเพิ่งเริ่มเล่นยิ่งดี

– ส่วนกลุ่มที่เล่นมาไกลแล้ว-ดูลอยแล้ว ก็อาจจะต้องระวัง late stage หรือจังหวะพาไปจบรอบ

(แล้วเงินก็จะทยอยหมุนไปเล่นตัวใหม่ๆที่เพิ่งเริ่ม new uptrend แทน)

####

วันนี้จะมาเขียนถึงกลยุทธ์ที่น่าสนใจ คือการซื้อ growth stock หลังงบออก หรือที่เรียกว่า ‘Post-Earnings Announcement Drift’ (PEAD)

คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่า เราควรซื้อหุ้นดักก่อนงบออก เพราะถ้ามัวรอให้งบออกเรียบร้อยแล้ว เราอาจจะซื้อช้าไป และทำให้ติดดอยได้

ความคิดนี้ผมมองว่าถูกต้องเพียงบางส่วน เพราะก่อนอื่นนั้นเราต้องดูให้แน่ชัดก่อนว่า

‘หุ้นได้ขึ้นมาไกลมากแล้ว ตลาดรับรู้แล้วว่ามันคือ growth stock ที่อนาคตสดใสมาก’

ซึ่งนี่มักจะเป็นการขึ้นใน stage หลังๆที่ส่วนใหญ่หุ้นจะไปได้ไม่ไกลแล้ว

จะมีไม่กี่กรณีเท่านั้นที่หุ้นยังสามารถ growth ได้เกินคาดต่อเนื่องไปอีกหลายปี (พวกนี้ถือว่าเป็น super stock ครับ)

หรืออีกมุมหนึ่งคือ

‘หุ้นเพิ่งจะเริ่มต้นขาขึ้นของมันเท่านั้น ตลาดเพิ่งจะรับรู้ growth – การ turnaround ของหุ้นตัวนี้ และอาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลง expectations ในบริษัทนี้’

ถ้าเป็นอย่างหลังนี้ หากเราไม่กล้าซื้อหลังงบออกเพราะเห็นว่าหุ้นขึ้นไปแล้ว ก็จะทำให้ตกรถ (หรือจรวด) growth stock เหล่านี้ได้ครับ

Stocks are priced on earnings expectations.

การที่บริษัทประกาศกำไรออกมาเกินคาด จะทำให้ expectation ต่อหุ้นตัวนั้นเปลี่ยนไป

ยกตัวอย่าง เมื่อหุ้น x ประกาศกำไรมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดเอาไว้มาก ทำให้เขาต้องปรับประมาณการของไตรมาสหรือปีต่อไป รวมไปถึงปรับ forecast อนาคตอีกด้วย

ยังไม่รวมถึงนักลงทุนประเภทอื่นๆทั้ง กองทุน รายใหญ่ รายย่อย ที่ต้องปรับตัวเลขและเป้าหมายกันใหม่ครับ

คนทั่วไปมักเชื่อว่า การซื้อหุ้นหลังจาก EPS ประกาศแล้วนั้นช้าเกินไป แต่ผมพบว่าหุ้น biggest winners จำนวนมากนั้น ประกาศ EPS ออกมาดีมากเป็นเวลานานพอสมควร ก่อนที่ราคาหุ้นจะพุ่งขึ้นไป

.

เหตุที่ราคาหุ้นยังไม่ไปไหนในช่วงแรก อาจเป็นเพราะนักลงทุนไม่เชื่อว่าบริษัทจะยังทำ EPS ได้ดีต่อไปอีก (investor’s perception) หรือเป็นเพราะสภาพตลาดไม่เอื้อในขณะนั้น (market condition)

– David Ryan –

ดังนั้น การใช้กลยุทธ์ PEAD เราควรที่จะวิเคราะห์ร่วมกับ earnings expectation cycle

จะช่วยให้เราประเมินได้ว่าหุ้นตัวนั้นน่าจะอยู่ใน stage ไหนแล้วของขาขึ้นรอบนี้ เพื่อที่จะได้ไม่ตกรถ หรือในทางกลับกันคือ มาซื้อช้าเกินไปครับ (overstay party)

ภาพนี้ทำขึ้นโดย Richard Bernstein ซึ่งเป็น quantitative strategist ของ Merrill Lynch

ทำให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง earnings expectations กับ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น ได้ง่ายขึ้นครับ เค้าเปรียบให้เป็นเหมือนแต่ละช่วงของนาฬิกานั่นเอง

ผมขอสรุปนาฬิกาแบบคร่าวๆนะครับ

สิ่งสำคัญก็คือ เราควรรู้ก่อนที่จะซื้อเสมอว่า ‘ตอนนี้หุ้นกำลังอยู่ใน Stage ไหนแล้ว? ตลาดรับรู้ความสุดยอดของมันหมดแล้วหรือยัง?’

อย่างถ้าแนว VI ก็มักจะเก็บก่อนคนอื่น คือช่วง 5 นาฬิกา ถึง 9 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ได้สนใจหุ้นตัวนี้ (หุ้นถูกละเลย หรือมีปัจจัยลบชั่วคราว – neglect)

ซึ่งข้อดีคือ ได้ซื้อหุ้นราคาถูก และยังไม่ใช่หุ้นร้อน ส่วนความเสี่ยงหรือข้อเสียก็อย่างเช่น การที่ต้องรอนาน , อาจมีบางอย่างที่เราไม่รู้ซึ่งทำให้หุ้นไม่ไปไหน หรือมีโอกาสที่งบจะออกมาไม่เป็นไปตามคาด เป็นต้น

ส่วนสาย growth, momentum, CANSLIM หรือ technical นั้น มักจะมาช่วงตั้งแต่ 9 นาฬิกา ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นเริ่มแสดงการเติบโตของกำไรอย่างเห็นได้ชัด

คนเริ่มที่จะสนใจหุ้นตัวนี้ และก็เป็นช่วงที่ราคาหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

ข้อดีของช่วงนี้คือ ไม่ต้องรอนานนัก และมี growth ที่ประกาศแล้วจริงๆมารองรับ

ส่วนข้อเสียก็คือ ต้องซื้อแพงขึ้น, ความผันผวนสูงขึ้นเพราะเริ่มมีคนสนใจมากขึ้น , หุ้นอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่คาดหวังกันไว้ หรือดีแค่ชั่วคราวเท่านั้น เป็นต้น

และหลังจากหุ้นขึ้นไปซักระยะ (ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วง 3 เดือน – 1 ปี) ก็จะไป peak ที่ 12 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาที่ใครๆต่างก็รับรู้แล้วว่า มันคือ growth stock ที่อนาคตสดใสมาก

และก็มักจะเป็นช่วงที่งานเลี้ยงใกล้จบแล้ว

เราอาจสังเกตช่วง peak ได้จาก งบออกมาดีแต่หุ้นไม่ขึ้นต่อ , ทำ new high แล้วก็เริ่มมีแรงขายอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน , บทวิเคราะห์เริ่มให้เป้าสูงๆ มองโลกในแง่ดีมาก , คนส่วนใหญ่ในตลาดต่างก็ถือหรือพูดถึงหุ้นตัวนี้กันทั้งนั้น เป็นต้น

สรุปแล้ว ช่วงเวลาที่เราควรเข้ามาลงทุนคือ ช่วงตั้งแต่ 6 นาฬิกา จนถึง ก่อน 12 นาฬิกานั่นเอง

ส่วนจะเลือกใช้หลักการแบบไหนนั้น ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ละคนเลยครับ

The idea is to find growth stocks early enough but not to overstay the party.

สุดท้ายนี้ ผมหยิบเอาหุ้น 9 ตัว มาเป็นตัวอย่างให้ดูว่า หลังจากผ่านช่วงที่ประกาศกำไรรายไตรมาสออกมาเติบโตสูงมากๆแล้วนั้น (เติบโตทั้ง QoQ และ YoY) หุ้นพวกนี้มีการปรับตัวอย่างไรหลังจากประกาศงบ

และคงช่วยให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า ‘การซื้อหลังงบออกนั้น อาจจะไม่สายเกินไปก็เป็นได้ ถ้าเราเข้าใจจังหวะเวลาของมันจริงๆ’…

Earnings surprise and neglect are two essential elements to finding the big movers.

.

Every earnings season these two things come together to create opportunities.

MALEE – เริ่มประกาศงบโตขึ้นอย่างมากตั้งแต่ Q3/2011 (ตัวนี้เบลอนิดนึงนะครับ)

SITHAI – งบ Q1/2012 เพิ่มขึ้นมาก อัตราการทำกำไรดีขึ้น

CCP – งบ Q1/2012 เพิ่มขึ้นมาก อัตราการทำกำไรดีขึ้น อยู่ใน Sector ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนของรัฐฯ

CFRESH – ตัวนี้กำไรเิริ่มดีตั้งแต่ Q3/2011 และยืนยันกำไรขาขึ้นตอน Q4/2011 + ลงทุนใน Blue Earth ที่อังกฤษ และ ฟาร์มกุ้งที่เบลีซ

DEMCO – งบเติบโตและอัตรากำไรดีขึ้นมาก + จะได้รับปันผลจากโรงไฟฟ้าพลังงานลม

JMART – งบโตตามเทรนด์ Smartphone และโตจากธุรกิจเก็บหนี้ + Story ผู้ถือหุ้นมีสิทธิ์ได้ IPO หุ้น JMT

THANI – หลังเพิ่มทุนเสร็จเรียบร้อย กำไรเพิ่มขึ้นอย่างมาก (ปีนี้กลุ่มลีสซิ่งมาแรง)

PREB – กำไรโตมากจากธุรกิจอสังหาฯ + Sector รับเหมาได้ประโยชน์จากนโยบายรัฐ

SCP – งบ Q1/2012 เพิ่มขึ้นมาก อัตราการทำกำไรดีขึ้น อยู่ใน Sector ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนของรัฐฯ (คล้าย CCP)

earning2

earning

.

Blog 30 : ‘Post-Earnings Drift’ – ซื้อหุ้นหลังงบออกช้าไปหรือไม่? + Case Study 9 หุ้นไทย

22 พฤศจิกายน 2012

Author: admin

4 thoughts on “Blog 30 : ‘Post-Earnings Drift’ – ซื้อหุ้นหลังงบออกช้าไปหรือไม่? + Case Study 9 หุ้นไทย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.