Blog 71 : ภาวะตลาด vs หุ้นรายตัว

ช่วงนี้ (พ.ย. 2016) ถ้าเราดูกราฟ SET เทียบกับหุ้นรายตัว อาจจะเห็นว่าไม่สอดคล้องกันนัก เพราะหลังจากที่ผ่านการปรับฐานรุนแรง 2 รอบในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ตลาดก็มีลักษณะซึม ขึ้นแบบวอลุ่มน้อย (ไม่มี follow through day – FTD) สลับกับลงแรงในบางวัน

แต่ถ้าไปดูหุ้นรายตัวโดยเฉพาะกลุ่ม leader จะเห็นว่ายังพอมีหุ้นที่ breakout และขึ้นสวนตลาดกันเยอะพอสมควร หลังการปรับฐานและประกาศงบ Q3 ออกมาดี ดูได้จากกราฟตัวอย่างหุ้นนำตลาดบางตัวในช่วงนี้ครับ

(คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดเต็ม)

leader after 13oct2016

set

ภาวะแบบนี้ทำให้ผมนึกถึงเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่อง ‘ภาวะตลาด vs หุ้นรายตัว’ จากหนังสือ 2 เล่ม ที่อธิบายคล้ายๆกัน

เล่มแรก In The Trading Cockpit with the O’Neil Disciples, หน้า 42

– เทรดเดอร์ที่ยึดหลักการแบบตายตัว (ไม่ได้ adapt) มักจะชอบรอให้ตลาดขึ้นแรงๆแบบมีวอลุ่ม หรือเกิด follow-through day (FTD)

เพราะมันเหมือนเป็นสัญญาณเปิดงานที่บอกเราว่า ‘ให้เริ่มซื้อหุ้นได้แล้ว’

– แต่อย่าลืมว่า FTD นั้นก็เป็นเพียงหนึ่งในสัญญาณกลับตัวของตลาดเท่านั้น มันไม่ใช่สิ่งที่ให้ผลแม่นยำ 100℅ แน่นอน

หรือต้องใช้แบบตายตัวว่าถ้าจะซื้อหุ้นต้องรอให้ FTD เกิดก่อนเสมอไป

(เพราะ FTD มีหลายครั้งที่ fail หรือเพิ่งมาเกิดตอนหุ้นรายตัวขึ้นกันไปไกลแล้ว)

– สิ่งที่เราสามารถทำได้ดีที่สุดในแต่ละช่วงก็คือ การเลือกซื้อหุ้นแต่ละตัวที่จุด low risk/high reward ตามระบบเรา และวาง position size ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

– สิ่งที่เราอยากบอกก็คือ ถึงแม้พวกเราจะไม่ค่อยได้สนใจว่าตลาดจะเกิด FTD หรือไม่ เราก็ยังสามารถทำเงินจากหุ้นรายตัวได้

ด้วยการทยอยซื้อหุ้นตัวที่เราคิดถูก และ cut loss ตัวที่คิดผิดอย่างรวดเร็ว (เทรดหุ้นรายตัวไปตามปกติ)

– ดังนั้น ไม่ว่าสภาวะตลาดจะเป็นอย่างไร จงมองหาโอกาสเทรดอยู่เสมอ

หมั่นคัดกรองหุ้นที่มี price/volume pattern และ earning growth ที่น่าสนใจในช่วงนั้น

, พิจารณาลักษณะกราฟให้ดี , ประเมินจุดเข้าซื้อ-จุด stop loss-จุดขายทำกำไร

, วางแผนสะสมหุ้นเพิ่มเมื่อคิดถูก , ปรับการเทรดไปตาม action ของหุ้นตัวนั้น

– การทำแบบนี้ทำให้เราเทรดหุ้นรายตัวได้อย่างโฟกัส โดยที่ไม่ต้องกังวลกับข่าวและภาวะตลาดมากเกินไปนัก

เพราะสิ่งเหล่านี้มักจะทำให้เรารู้สึกกลัว-มี bias และทำให้พลาดเมื่อมีโอกาสเทรดที่ดีเกิดขึ้น

ส่วนอีกเล่มคือ Momentum Master เป็นเนื้อหาส่วนที่ผมเคยเขียนลงเวบใน blog ตอนนี้ครับ >> ‘Blog 56 : ใส่ใจหุ้นของเรา อย่ากลัวตลาดมากเกินไป! (เนื้อหาจาก Momentum Master)’

*Mark Mivervini ;

“คุณอาจจะแปลกใจที่เริ่มเห็นผลการเทรดของคุณดีขึ้น เมื่อใส่ใจหุ้นรายตัวในลิสของคุณเป็นหลัก แทนที่จะไปสนใจภาวะตลาดหรือข้อมูลข่าวสารต่างๆมากจนเกินไป”*

*พี่ Mark ต้องการสื่อว่า การรับรู้ข่าวสารเยอะๆหรือกลัวตลาดมากเกินไป อาจทำให้เราพลาดโอกาสดีๆเมื่อมีหุ้นที่น่าสนใจ

หรืออาจจะกลัวจนรีบทำหุ้นหลุดมือ ทั้งๆที่หุ้นไม่ได้ลงตามตลาดอย่างที่เรากลัวไปเอง*

*Tune out the market and tune into the stocks!…

*David Ryan ;

“ถ้าตลาดยังไม่ได้ดีมากนัก แต่เริ่มมีหุ้นน่าสนใจที่ผ่านเกณฑ์ของผม ผมอาจจะลองซื้อซัก 5% ของพอร์ตก่อน (ปกติเริ่มซื้อ 10%)

แล้วถ้าหุ้นเริ่มทำตัวดีอย่างที่คิดก็ซื้อเพิ่มจนครบที่ตั้งใจไว้

สาเหตุที่ต้องลองซื้อบ้างก็เพราะว่า มีหลายครั้งที่กลุ่มหุ้นนำตลาดจะเริ่มวิ่งกันล่วงหน้า ‘เป็นเดือน’ ก่อนที่ภาวะตลาดโดยรวมจะกลับมาดีอีกครั้ง”

*Dan Zanger ;

“การเลือกซื้อหุ้นก่อนที่ตลาดจะเกิด FTD (ยืนยันขาขึ้น) นั้น ขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของราคาหุ้นและปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้น

ถ้าเป็นหุ้นที่มีการเติบโตดีมาก (amazing earning) และ มี volume เข้ามาเทรดมากพอ ผมก็จะเริ่มซื้อหุ้นตัวนั้น ก่อนที่ตลาดจะเกิด FTD

อย่างไรก็ตาม ผมจะยังไม่ซื้อจนเต็มจำนวน อาจจะซื้อซัก 50% ของที่ตั้งใจไว้

แล้วรอให้ตลาดหรือหุ้นนำตลาดตัวอื่นๆเริ่มทยอยขึ้นตามกันมา เพื่อเพิ่มความมั่นใจก่อนที่จะซื้อหุ้นตัวนั้นเพิ่มอีก

อย่าลืมว่ามีหลายครั้งที่ FTD เกิดแล้วก็ fail ..ดังนั้น มันก็อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่เราต้องรอให้เกิดก่อนที่จะเริ่มซื้อหุ้นได้เสมอไป”

สรุปก็คือ ในแต่ละช่วงเราควรโฟกัสและเทรดตามหุ้นรายตัวในลิสของเราเป็นหลัก

เพราะมีหลายครั้งที่หุ้นรายตัวเกิดสัญญาณซื้อ/ขายตามระบบ โดยที่ไม่สนใจตลาดว่าจะขึ้นหรือลง

ถ้าเรามัวแต่รอตลาดขึ้น รอให้เกิด ftd ชัดๆก่อนค่อยเริ่มซื้อหุ้น ก็มักจะทำให้พลาดโอกาสซื้อหุ้นสวยๆตั้งแต่ช่วงไม้แรกไปอย่างน่าเสียดาย

ซึ่งจะคล้ายกับเมื่อช่วงปี 2015 ที่ภาพรวม SET เป็นขาลงก็จริง แต่หุ้น leader หลายตัว ก็ยังสามารถวิ่งขึ้นสวนตลาดขาลง และให้ผลตอบแทนที่ดีมากครับ

Focus Your Watch List!

Blog 71 : ภาวะตลาด (FTD) vs หุ้นรายตัว

17 พฤศจิกายน 2016

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.