Blog 41 : จงเป็น ‘คนใจเย็นแต่ใจกล้า’ อย่า ‘ใจร้อนแต่ขี้กลัว’

“เคยได้ยินว่าตลาดหุ้นเป็นของ ‘คนใจเย็นแต่ใจกล้า’ แต่เป็นหลุมศพสำหรับ ‘คนใจร้อนแต่ขี้กลัว’ ครับ ถึงเวลาที่ควรลงมือ ต้องลงมืออย่างเด็ดขาด ไม่ใช่เวลาที่ควรลงมือ อย่ามุทะลุ”

– bezos –

“ลุงโฉลกเคยบอกไว้ว่า ปัญหาส่วนใหญ่ของเทรดเดอร์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ คือ ‘โลภเกินไป ไม่รู้จักพอเพียง’ และความกลัวก็คือ ‘ความโลภ’ ประเภทหนึ่งเหมือนกัน”

– Hari Seldon –

ที่มา : เวบ HOONTODAY

####

15774241-mascot-illustration-featuring-an-angry-fire-in-a-fighting-stance--hot-headed

ปัญหาของคนใจร้อนแต่ขี้กลัว ถ้ายกตัวอย่างง่ายๆที่เห็นกันบ่อยก็คือ การกลัวกำไรหาย-กลัวขาดทุน หรือกังวลนู่นนี่อยู่ตลอดเวลา

เวลาหุ้นขึ้นก็กลัว ไม่กล้า let profit run , พอหุ้นลงหน่อยก็กลัว รีบร้อนขายทิ้งไป ทั้งที่บ่อยครั้งแล้วเราอาจจะยังไม่จำเป็นต้องขายเลยก็ได้ ซึ่งมันมักทำให้ผลตอบแทนของเราออกมาไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น กล่าวคือ หากเราไม่ใช้อารมณ์ในการซื้อขาย ผลลัพธ์จริงๆมันจะออกมาดีกว่ามาก

(แต่ถ้าเป็นการขายตามระบบอันนี้ไม่ผิดนะครับ พูดถึงการขายตามอารมณ์)

และถ้าขยายความเรื่องความโลภ-ความกลัว จากคำพูดของคุณลุงโฉลกก็จะเห็นว่า จริงๆแล้วไม่ใช่ว่าคนเราจะกลัวเฉพาะเวลาหุ้นตกอย่างเดียวเท่านั้น

‘คนที่โลภเกิน’ นั่นก็แสดงว่าเขากำลังกลัวอยู่เช่นกัน

กลัวว่าจะได้กำไรน้อยเกินไป , กลัวว่าจะตกรถ ทำให้ต้องรีบซื้อหุ้น , ไล่ซื้อตามเมื่อหุ้นขึ้นไปมากๆ , ซื้อหุ้นทั้งๆที่ราคาแพงเกินไป ไม่วิเคราะห์ risk/reward ให้ดีเสียก่อน เป็นต้น และก็เป็นที่มาของคำว่า ‘คนใจร้อนแต่ขี้กลัว’

ความกลัวจึงถือเป็น “ความโลภ” ประเภทหนึ่ง ตามที่คุณลุงโฉลกกล่าวไว้จริงๆ

ดังนั้น ข้อความนี้ผมว่าเราควรจดจำไว้ให้ดีครับ พยายามฝึกตัวเองให้เป็น “คนใจเย็นแต่ใจกล้า” อย่าเป็น “คนใจร้อนแต่ขี้กลัว”

อย่างไรก็ตาม การจะเป็น “คนใจเย็นแต่ใจกล้า” ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้โดยง่าย เพราะตลาดนั้นขับเคลื่อนด้วยจิตวิทยาหมู่ การที่เราจะกล้าคิดต่าง , ใจเย็นและมีสติเมื่อคนทั้งตลาดกำลัง panic ได้นั้น ก็ต้องผ่านการฝึกจิตใจและมีประสบการณ์พอสมควร

(อย่างผมเองก็ยังต้องฝึกเรื่องจิตใจอีกเยอะเช่นกันครับ)

แนวทางคร่าวๆก็คือ ก่อนอื่นต้องหาระบบและแนวคิดการลงทุนที่เหมาะกับตัวเรา จากนั้นต้องวางแผนการลงทุน และฝีกจิตใจตัวเองให้มีวินัย ทำตามแผนการที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ เวลาจะซื้อจะขายหุ้น

พยายามไตร่ตรองให้ดีก่อนว่าเราซื้อ-ขายเพราะทำตามแผนที่วางไว้ หรือมันเป็นอารมณ์ชั่ววูบในช่วงเวลานั้นๆ

ในระยะยาวอุปนิสัยในการลงทุนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และมันก็จะเป็นตัวที่ตัดสินผลแพ้-ชนะในการลงทุนของเรา

เพราะถึงแม้ว่าเราจะวางแผนการลงทุนหรือเลือกหุ้นมาดีแค่ไหน หากมีจิตใจไม่มั่นคงหรือเป็นคนใจร้อนเกิน สุดท้ายแล้วเราก็จะไม่มีทางได้ผลลัพธ์ตามแผนที่วางเอาไว้ครับ…

Blog 41 : จงเป็น ‘คนใจเย็นแต่ใจกล้า’ อย่าเป็น ‘คนใจร้อนแต่ขี้กลัว’

12 ธันวาคม 2013

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.