สงครามโลกครั้งที่สอง (ประวัติศาสตร์)

สงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามโลกครั้งที่สอง (World War 2) เป็นความขัดแย้งในวงกว้าง ครอบคลุมทุกทวีปและประเทศส่วนใหญ่ในโลก เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และดำเนินไปจนกระทั่งสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) ได้ชื่อว่าเป็นสงครามที่มีขนาดใหญ่และทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์โลก

ต้นเหตุที่แท้จริงของสงครามครั้งนี้ ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ความเป็นชาตินิยม การแย่งชิงอำนาจและต้องการแบ่งปันโลกใหม่ของประเทศที่เจริญตามมาทีหลังและ แสนยนิยม เช่นเดียวกับวันเริ่มต้นสงคราม ที่อาจเป็นไปได้ทั้งวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) ที่เยอรมันรุกรานโปแลนด์, วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) ที่ญี่ปุ่นรุกรานจีน (วันเริ่มต้นสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2) หรือปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ที่ญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย บางคนกล่าวว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งนี้เป็นข้อพิพาทเดียว กัน แต่แยกกันด้วย “การหยุดยิง”

การต่อสู้มีขึ้นตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติก ยุโรปตะวันตกและตะวันออก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกา ตะวันออกกลาง มหาสมุทรแปซิฟิก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีน สงครามในยุโรปสิ้นสุดเมื่อเยอรมนียอมจำนนในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) แต่ในเอเชียยังดำเนินต่อไปจนกระทั่งญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 15 สิงหาคม ปีเดียวกัน คาดว่ามีผู้เสียชีวิตในสงครามครั้งนี้ราว 57 ล้านคน

ประเทศที่มีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้

ใน สงครามครั้งนี้ เป็นการสู้รบกันระหว่างสองฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ และ ฝ่ายพันธมิตร โดยประเทศเล็กๆ ส่วนใหญ่แล้ว ประเทศจะเข้าร่วมฝ่ายตาม ประเทศเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งเป็นส่วนใหญ่

ฝ่ายอักษะประกอบไป ด้วยแกนนำหลัก คือ เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ในนามของกลุ่มอักษะโรม-เบอร์ลิน-โตเกียว ที่มีการแถลงวัตถุประสงค์หลักในตอนต้นว่าเพื่อต่อต้านขบวนการคอมมิวนิสต์ สากล

ฝ่ายพันธมิตรประกอบไปด้วยแกนนำหลัก คือ สหราชอาณาจักร, สหภาพโซเวียต และ สหรัฐอเมริกา โดยมีประเทศที่เข้าร่วมฝ่ายสัมพันธมิตรที่สำคัญอีก 2 ประเทศคือ จีน และ ฝรั่งเศส ซึ่งประเทศทั้ง 5 นี้ได้เข้าเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

สาเหตุ
สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากประเทศเยอรมนีไม่พอใจสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ซี่งเป็นสนธิสัญญาที่เยอรมนีต้องลงนามเมื่อแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง คือต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมาก ถูกลดกำลังทหาร อาวุธ ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ เสียดินแดน ชนวนเกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีหาเรื่องโปแลนด์ในประเด็นเรื่องการไม่เคารพสิทธิ ของคนเชื้อสายเยอรมันในโปแลนด์ นอกจากนี้เมื่อทางเยอรมนีขอตัดถนนข้ามจากเยอรมนีฝั่งตะวันตกเข้าไปยังปรัส เซีย (ซึ่งปัจจุบันคือดินแดนฝั่งตะวันออกของเยอรมนี) โดยผ่านฉนวนโปแลนด์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษและฝรั่งเศส แต่อังกฤษและฝรั่งเศสไม่อนุญาต เยอรมนีจึงยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงและบุกเข้าโปแลนด์ทันที ซึ่งอังกฤษและฝรั่งเศสได้สัญญาไว้ว่าจะช่วยเหลือทางทหาร จึงสั่งให้เยอรมนีถอนกำลังออกภายใน 14 ชั่วโมง แต่เยอรมนีปฏิเสธไม่ถอนกำลัง จึงได้ประกาศสงคราม โดยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายอักษะ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น ฝ่ายสัมพันธมิตร อังกฤษ ฝรั่งเศส ต่อมาจึงมี จีน สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต

ฝ่ายชนะคือฝ่าย สัมพันธมิตร ทำให้ประเทศมหาอำนาจในยุโรปหมดกำลังลง จึงเกิดมหาอำนาจใหม่คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต จนนำไปสู่สภาพสงครามเย็นในเกือบจะทันทีที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง

WW2Montage

ภาพเรียงตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด : กองทัพเครือจักรภพในยุทธการเอล อาลาเมน ; พลเรือนชาวจีนถูกฝังทั้งเป็นโดยทหารญี่ปุ่น ; กองทัพโซเวียตในแนวรบด้านตะวันออก ; เครื่องบินรบญี่ปุ่นเตรียมบินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน ; กองทัพโซเวียตสู้รบในกรุงเบอร์ลิน ; เรือดำนำเยอรมันถูกระดมยิงอย่างหนัก

 

สมรภูมิรบ

สมรภูมิรบในสงครามโลกครั้งที่2นั้นเกิดขึ้นหลายแห่งในโลก โดยตามแผนเดิมของฝ่ายอักษะนั้น ต้องการที่จะบุกมาบรรจบกันที่อิหร่าน ซึ่งสามารถจำแนกสมรภูมิเป็นกลุ่มใหญ่ได้2กลุ่มคือ

สมรภูมิทางตะวันตก

สมรภูมิทางตะวันตก ซึ่งมีเยอรมนีเป็นฝ่ายรับผิดชอบ โดยยังสามารถแยกย่อยให้เป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันตก ได้แก่ ในฝรั่งเศส ออสเตรีย-ฮังการี นาซีเข้าถล่มออสเตรียและผนวกเข้ากับเยอรมนี ล้มล้างระบอบกษัตริย์ในออสเตรียลงและนำกองทัพเข้าโจมตีฮ้งการี ฮังการีเกรงกลัวจึงประกาศยอมแพ้แก่นาซี การบุกโจมตีประเทศต่ำ(เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบอร์ก)ทำให้สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมีนาแห่งเนเธอร์แลนด์เสด็จ ลี้ภัยไปยังอังกฤษและมอบราชสมบัติให้แก่เจ้าหญิงจูเลียนาเมื่อครองเนเธอร์ แลนด์ได้ภายใน 4 วัน เบลเยี่ยมและลักเซมเบอร์ก จึงป้องกันประเทศอย่างแน่นหนาด้วยพรมแดนธรรมชาติแต่นาซีได้เข้าทำลายและทำ การผนวก จากนั้นนาซีสามารถเข้าผนวกฝรั่งเศสได้อย่างง่ายดาย จากนั้นเข้าถล่มเมืองเกอเออนีคาแห่งสเปนที่เป็นกลางด้วยระเบิดรวมถึง โปรตุเกสด้วย และในสแกนดิเนเวียโดยการบุกโจมตีเดนมาร์กและนอร์เวย์ และบีบบังคับให้สวีเดนที่เป็นกลางมอบทรัพยากรทางธรรมชาติให้เยอรมนี ส่วนฟินแลนด์เข้าร่วมกับนาซีเพื่อเข้าโจมตีดินแดนที่เสียให้กับสหภาพโซเวียต ซึ่งเยอรมนีประสบความสำเร็จในการยึดครอง และการยุทธแห่งเกาะบริเตนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของฮิตเลอร์ที่หันไปให้ความสำคัญกับยุโรป ตะวันออกและรัสเซีย ซึ่งเป็นแนวรบที่เยอรมนีได้ทำการโจมตีหลังจากได้เข้ายึดครองประเทศโปแลนด์ แล้ว และได้กลายเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามอีกครั้งหลังจากการยกพลขึ้นบกที่ นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตามปฏิบัติการแอนซิโอ
สมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก ได้แก่ ในโปแลนด์ กรีซ (บางส่วน) ยูโกสลาเวีย โรมาเนีย และสหภาพโซเวียต โรมาเนียนั้นเข้าร่วมกับนาซีและเข้าผนวกบัลแกเรียโดยนายพลเซาเซสคูแห่งโรมา เนีย ซึ่งถ้าไม่นับรวมโปแลนด์แล้ว ประเทศเหล่านี้ต้องเผชิญการรุกรานจากเยอรมนีหลังจากสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวัน ตก ซึ่งเยอรมนีได้บุกเข้าไปจนกินเนื้อที่จำนวนมาก แต่ทว่าก็ไม่อาจเอาชนะฝ่ายสัมพันธมิตรในสมรภูมินี้อย่างถาวร เนื่องจากแนวรบที่กว้างขวางตั้งแต่ทะเลบอลติก (เลนินกราด หรือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) จนถึงลุ่มแม่น้ำโวลก้า (สตาลินกราด) และแหลมไครเมีย สภาพอากาศที่โหดร้าย และการตอบโต้อย่างหนักจากสหภาพโซเวียต จนทำให้โดนฝ่ายสหภาพโซเวียตตีโต้กลับไปจนถึงกรุงเบอร์ลินในที่สุด ส่วนอิตาลีได้ทำการผนวกแอลเบเนียแต่ไม่สามารถผนวกกรีซได้
สมรภูมิริมขอบของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ในไซปรัส กรีซ (บางส่วน) ลิเบีย และอียิปต์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้เคยอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษมาก่อน แต่ว่าอิตาลีและเยอรมนีต้องการ จึงได้เกิดสมรภูมิทะเลทรายอันลือลั่นขึ้น ในตอนแรกนั้น ฝ่ายอิตาลีไม่สามารถเอาชนะอังกฤษได้ แต่ว่าต่อมาฮิตเลอร์ได้ส่งจอมทัพเออร์วิน รอมเมลอันโด่งดังและกองกำลัง Afrika Korp เข้ามาทำให้สถานการณ์ของฝ่ายอักษะกลายเป็นฝ่ายรุก แต่ในที่สุด เนื่องด้วยฝ่ายอักษะไม่สามารถส่งกำลังบำรุงและทหารมาประจำการในสมรภูมิทะเล เมดิเตอร์เรเนียนได้มาก เนื่องจากติดพันอยู่กับสมรภูมิในทวีปยุโรปตะวันออก และฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการฐานสนับสนุนการยกพลขึ้นบกที่อิตาลีตามข้อเสนอของ นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์ ด้วยความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา จึงได้เกิดปฏิบัติการทอร์ชขึ้น และสามารถขับไล่ฝ่ายอักษะออกจากแอฟริกาเหนือได้

สมรภูมิทางตะวันออก
สมรภูมิทางตะวันออก ซึ่งรับผิดชอบโดยญี่ปุ่นเป็นด้านหลัก โดยมีชื่อเรียกยังสามารถแยกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกคือ

สมรภูมิในจีน ซึ่งกองทัพบกญี่ปุ่นได้ดำเนินการมานานก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่2อย่าง เป็นทางการ โดยได้ทำการยึดครองเมืองและบริเวณชายฝั่งของจีนเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงการจัดตั้งประเทศแมนจูกัวซึ่งมีจักรพรรดิปูยีเป็นประมุข และได้ทำการยึดครองกรุงหนานจิง(นานกิง)ที่เป็นเมืองหลวงของจีน(ของรัฐบาลก๊ก มินตั่งในยุคนั้น) และได้ทำการสังหารหมู่ชาวจีนทีโด่งดังขึ้น ซึ่งรุนแรงมากจนกระทั่งทำให้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสในเมืองนานกิงยังรับไม่ได้ ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับแนวร่วมต่อต้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นการร่วมมือระหว่างพรรค คอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีเหมาเจ๋อตงเป็นผู้นำและพรรคก๊กมินตั๋น(ประชาธิปไตย)ที่ มีเจียงไคเช็กเป็นผู้นำ หลังจากเกิดกรณีซีอันขึ้น ทั้งที่ 2 พรรคนี้เคยเป็นศัตรูกันมาก่อนโดยพรรคคอมมิวนิสต์ได้ทำการสู้รบและดำเนินการ “สงครามกองโจร” ที่กลายเป็นแบบอย่างของสงครามกองโจรยุคใหม่ขึ้นโดยมีฐานที่มั่นหลักอยู่ที่ เยนอาน ตามเขตตอนเหนือและแมนจูเรียส่วนพรรคก๊กมินตั๋นได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่ฉ่ง ชิ่ง(จุงกิง)และได้รับการสนับสนุนจากสัมพันธมิตรที่อยู่ในอินเดีย แต่ว่ามีการถกเถียงกันระหว่างบทบาทของพรรคก๊กมินตั๋นและพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในเรื่องบทบาทความสำเร็จและความเอาการเอางานในการต่อต้านญี่ปุ่นของอีกฝ่าย หนึ่ง แต่ที่แน่ชัดคือ นายพลสติเวลล์ ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐอเมริกาที่เข้าไปดูแลกองทัพของพรรคก๊กมินตั๋นรู้สึก โกรธมากที่ภายในพรคก๊กมินตั๋นไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่าการรบกับญี่ปุ่น ในขณะที่เอดการ์ สโนว์ได้แสดงความชื่นชมบทบาทของเหมาเจ๋อตงอย่างมากในการต่อต้านญี่ปุ่น และทางกองทัพสหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะปฏิบัติการดิกซีเข้าไปร่วมทำงานกับเหมา เจ๋อตุง แต่นักหนังสือพิมพ์จากสหภาพโซเวียตที่ได้เข้าไปทำข่าวในห้วงเวลาเดียวกัน กลับวิจารณ์ เหมาเจ๋อตงว่าไม่เคร่งครัดในลัทธิคอมมิวนิสต์และหย่อนยานในการสู้รบ ทำให้ไม่สามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ การรบชนะจีนซึ่งเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียนั้น ยิ่งทำให้ชาติญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นในการทหารของตนเอง ทำการรุกรานประเทศอื่นๆอย่างไม่เกรงกลัว และยังประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาโดยการส่งเครื่องบินไประเบิดเรืออริโซน่า ที่อ่าวเพิร์ล เป็นชนวนจุดระเบิดสงครามโลกครั้งที่สองในภูมิภาคเอเชีย
 

สมรภูมิในแปซิฟิคและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งถ้าไม่นับรวมการเข้ายึดครองอินโดจีนของฝรั่งเศส ที่ถูกบังคับให้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะภายใต้รัฐบาลวิชีแล้ว สมรภูมิด้านนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือหลักของกองทัพ เรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ และการบุกยึดประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงไทยในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้บุกไปถึงพม่า นิวกินี และเกาะกัวดาคาแนล ซึ่งปรากฏว่าหลังจากสมรภูมิที่มิดเวย์ การรบทางทะเลแถวหมู่เกาะโซโลมอนและทะเลปะการัง และการรบที่กัวดาคาแนลแล้ว ปรากฏว่ากองทัพเรือญี่ปุ่นต้องสูญเสียอย่างหนัก ส่วนกองทัพบกก็ไม่สามารถหากำลังพลและยุทโธปกรณ์ได้เพียงพอเพื่อปกป้องดินแดน ที่ยึดได้ใหม่ ในที่สุดจึงถูกกองกำลังพันธมิตรที่มีสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลียตีโต้กลับไปจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด

ดูเพิ่ม
การสังหารหมู่นานกิง : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%87

สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

B2
โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 เผยแพร่โดยกรมโฆษณาการ
Author: admin

10 thoughts on “สงครามโลกครั้งที่สอง (ประวัติศาสตร์)

  1. คืออยากให้หารายชื่อทหารในสงครามโลกครังที่สองมาให้ เพราะพ่อเเก่ ของหนู อยู่ในนันด้วย จะได้ไหมค่ะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.