Blog 65 : จิตวิทยาของเส้น Moving Average

.

สำหรับคนที่เล่นหุ้นสายผสม หรือ CANSLIM น่าจะคุ้นเคยกับการใช้ moving average เป็นเครื่องมือหลักในการเทรด

เพราะหนังสือหุ้นแนวนี้จะสอนให้เราใช้เพียงแค่ price , volume และ moving average หลักๆเพียงไม่กี่เส้นเท่านั้นก็ถือว่าเพียงพอแล้ว สำหรับการบอกแนวโน้มและสุขภาพของตลาด-หุ้นรายตัว

เวลาที่ตลาดหรือหุ้นเริ่มย่อตัวลงมาทดสอบแนวสำคัญๆ เราจึงต้องจับตาดูให้ดีว่าแรงซื้อแรงขายที่บริเวณนั้นเป็นอย่างไร ฝั่งไหนที่เป็นผู้ชนะในแนวสำคัญนั้น

แล้วทำไมเส้น MA ถึงใช้เป็นแนวรับ-แนวต้านที่ได้ผลอยู่บ่อยครั้ง?

เรื่องนี้ถือเป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่ง คือเมื่อ player จำนวนมากทำการเทรดในลักษณะเดียวกัน โดยคาดหวังผลลัพธ์ที่คล้ายกัน

และพอผลลัพธ์ออกมาเป็นดังที่คาด ก็จะยิ่งทำให้คนเชื่อว่าสิ่งนี้ใช้ได้ผลและจะทำซ้ำไปเรื่อยๆ (Self-fulfilling)

นอกจากนี้ คนที่ทำกราฟ (รายใหญ่ – สถาบันกองทุน) ย่อมรู้ว่าคนที่ดูกราฟ (รายย่อย) คิดอย่างไรเมื่อกราฟราคาหุ้นมีรูปแบบต่างๆ

การกระทำของพวกเขาจึงเป็นการบอกใบ้ให้เรารู้ว่า ตลาด-หุ้นกำลังมีสถานะ uptrend, sideway หรือเริ่มเป็น downtrend ผ่านการซื้อ-ขายที่เส้น MA หลักๆพวกนี้

.

mov

. รูปจาก http://alphatrends.net/ .

เส้น MA สำคัญที่ใช้กันทั่วไปก็จะมี เส้น 50 วัน และ 200 วัน หรือบางกรณี อาจใช้เส้น 10 20 หรือ 100 วัน เสริมเข้ามาได้ด้วยไม่ตายตัว

*การจะใช้เส้นไหน ขึ้นอยู่กับตลาดและนิสัยของหุ้นแต่ละตัว เพราะหุ้นแต่ละตัวก็จะมี support ที่แตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องใช้เส้นเดียวกันทุกกรณีครับ

ตัวอย่างจิตวิทยาของเส้น MA ในตลาดขาขึ้น – เมื่อหุ้นย่อ (pullback)

– คนที่ขายเริ่มชะลอเมื่อหุ้นลงมาใกล้เส้น MA สำคัญ

– คนที่ short ไว้เริ่ม cover กลับ เพราะคิดว่าหุ้นน่าจะเริ่มเด้ง

– คนที่ถือเงินสดรอให้หุ้นย่อ ก็จะเริ่มทยอยซื้อที่แนวรับเหล่านี้

นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ในช่วงตลาดขาขึ้น หุ้นหลายตัวมักจะเกิด buy support ที่เส้น ma หลักๆพวกนี้

นั่นคือมี demand (ที่แนว MA) > supply ทำให้เวลาตลาดเป็นขาขึ้นราคาหุ้นจะเป็นไปในลักษณะย่อลงมาแล้วเด้งขึ้นต่อไปเรื่อยๆ

สำหรับจิตวิทยาของเส้น MA เมื่อตลาดเป็นขาลง

– คนซื้อเริ่มชะลอ เพราะคิดว่าหุ้นน่าจะติดเส้น หรือที่เรียกว่าทดสอบแนวสำคัญ

– คนเริ่มขายเมื่อหุ้นเข้าใกล้เส้น ma หลัก เพราะคิดว่าน่าจะไม่ผ่าน หรือเด้งแล้วลงต่อ

– คนที่รอ short จะทยอยเทรดโดยคาดว่าหุ้นจะติดแนวต้าน

ในตลาดขาลง ภาพที่เห็นก็จะเปลี่ยนเป็น supply (ที่ MA) > demand ทำให้เวลาตลาดเป็นขาลง จึงมีลักษณะเด้งแล้วลงต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะ bottom

การจะเปลี่ยนมุมมองของคนในตลาดขาขึ้น หุ้นจึงต้องถูกเทขายอย่างรุนแรงจากเหล่า big player ทำให้หลุด support และไม่สามารถกลับมายืนเหนือเส้นหลักได้ ตลาดเปลี่ยนสถานะเป็น downtrend

ส่วนถ้ากรณีตลาดกลับตัวจากขาลง ก็ต้องมีแรงซื้อที่มากพอเพื่อให้ตลาดหรือหุ้นทะลุเส้น ma สำคัญทั้งหลาย (เส้น 50 เส้น 200) และเริ่มยืนได้หรือมี support

ในการที่จะทำให้คนเชื่อว่าตลาด-หุ้นตัวนั้นมีโอกาสกลับมาเป็นขาขึ้นได้อีกครั้ง

*ลองดูตัวอย่างขาขึ้น-ขาลงของหุ้นจีน ในช่วงปีที่ผ่านมาจะเห็นภาพชัดขึ้นครับ

Blog 65 : จิตวิทยาของเส้น Moving Average 

5 พฤษภาคม 2559

Author: admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.