Blog 53 : ‘แนวทางการเทรด CANSLIM ช่วงตลาดซบเซา-ผันผวนสูง (Choppy & Trendless)’

.

“You adapt, evolve, compete or die.”

– Paul Tudor Jones

หลังจากที่หนังสือ How to Make Money in Stocks ได้ถูกแปลเป็นภาษาไทย ก็น่าจะทำให้หลักการ CANSLIM เป็นที่รู้จักมากขึ้นในตลาดหุ้นไทย

ซึงก็ถือเป็นเรื่องดีที่คนไทยจะได้เรียนรู้แนวคิดใหม่ๆในการเล่นหุ้น ที่สามารถนำไปต่อยอดระบบลงทุนของเราให้ดีขึ้นได้

นิยามสั้นๆของ CANSLIM ก็คือ ; ‘หาหุ้นเติบโตที่มีพื้นฐานธุรกิจดี (Growth Stock) , เข้าซื้อในจังหวะที่ถูกต้อง (Timing) , ถือหุ้นเกาะตามแนวโน้มไปเรื่อยๆจนกว่าจะจบรอบของมัน’

ซึ่งก็คือการเล่นหุ้นแบบผสมผสานทั้งพื้นฐานและกราฟนั่นเอง (Fundamental + Technical + Trend Following)

โดยส่วนตัวผมนั้นเริ่มใช้หลักการ CANSLIM มาตั้งแต่ปี 2011 (หลังน้ำท่วมใหญ่) ซึ่งก็พบว่า โดยทั่วไปแล้ว CANSLIM จะใช้ได้ดีมาก ‘เมื่อตลาดมีแนวโน้มชัดเจน’ 

ช่วงตลาดขาขึ้นเราก็เทรดไปได้เต็มที่ พอตลาดเริ่มเป็นขาลงก็เปลี่ยนมาถือเงินสด เลิกเล่นแล้วออกมานั่งดูข้างสนาม

รอจังหวะที่ตลาดเริ่มกลับตัวจึงค่อยกลับเข้าไปใหม่

แต่ถ้าเป็นช่วงที่ตลาดไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ผันผวนขึ้นลงสลับกันอยู่เรื่อย (choppy-trendless)

การเทรดโดยใช้แนวคิด CANSLIM แบบดั้งเดิมนั้นมักจะให้ผลลัพธ์ที่ไม่ดีนัก

ซึ่งก็ไม่ต่างกับหลักการ trend following อื่นๆ ที่ต้องการแนวโน้มที่ชัดเจนของตลาดในการสนับสนุนให้หุ้นขึ้นอย่างแข็งแกร่ง

คือไม่เหวี่ยงหรือผันผวนเกิน เป็นแนวโน้มใหญ่ที่ราคาหุ้นขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น สิ่งแรกที่เราควรให้ความสำคัญเมื่อคิดจะใช้หลักการนี้ก็คือ ‘Market Direction’ หรือตัว M ใน CANSLIM นั่นเอง

ภาวะตลาดจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์และแนวทางการเทรดของเรา ว่าช่วงนี้ควรจะเทรดเต็มตัว aggressive หรือควรระมัดระวัง

จังหวะเข้าซื้อ-ขายควรเป็นแบบไหน , ภาวะตลาดแบบนี้ควรเล่น breakout หรือรอจังหวะ pull-back? , ตลาดแบบนี้ใช้ position size ปกติหรือน้อยกว่าปกติ เป็นต้น 

“เหล่านักลงทุนผู้ละเลยสิ่งที่ตลาดพยายามจะบอกหรือส่งสัญญาณออกมา มักจะต้องจ่ายค่าบทเรียนราคาแพง ในขณะที่นักลงทุนที่สามารถแยกแยะสัญญาณต่างๆทั้งที่ปกติหรือไม่ปกติได้นั้น มักจะรู้สึกดีต่อตลาดมากกว่าคนส่วนใหญ่ เพราะพวกเขาสามารถเข้าใจตลาดได้เป็นอย่างดี”

.

“หน้าที่ของคุณไม่ใช่การถกเถียงกับตลาด แต่เป็นการเรียนรู้ตลาด รับรู้ได้ว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงที่อ่อนแอหรือแข็งแรง และพร้อมที่จะปรับตัวไปกับมันได้อย่างราบรื่น”

– William O’neil –

ผมทำตารางเปรียบเทียบภาวะตลาดและการเคลื่อนไหวของหุ้นนำตลาด (Leading Stock) เอาไว้ตามนี้ครับ

mkt leading

หลายคนอาจจะสงสัยว่า หุ้นนำตลาด (Leading Stock) คืออะไร?

ผมขอยกคำพูดของโอนีลมาแปะไว้นะครับ

“หุ้นนำตลาดนั้นไม่ใช่บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในตลาด หรือบริษัทที่มีแบรนด์เนมที่ผู้คนจดจำได้มากที่สุด

แต่เป็นบริษัทที่มีผลประกอบการรายไตรมาส-รายปีเติบโตสูง, ROE และ Profit margins ดีขึ้น, มีการเติบโตของยอดขาย, และการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นดูดีที่สุด”

– William O’neil

หลังจากที่เทรด CANSLIM มาซักพักใหญ่ๆ ได้อ่านหนังสือเพิ่มเติม , สังเกตพฤติกรรมตลาด-หุ้นใน Cycle ต่างๆของตลาด และเก็บบทเรียนที่เจอในช่วงที่ตลาดผันผวน-ซบเซานั้น

ทำให้ผมลองสรุปแนวทางการเทรดในภาวะตลาด Choppyซบเซา เอาไว้ตามนี้ครับ

*ก่อนอ่านเนื้อหาบทความนี้ ผมแนะนำให้อ่านหนังสือ How to Make Money in Stocks (ภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้) 

หรือหนังสือหุ้นแนวผสมพื้นฐาน+กราฟเล่มอื่นๆมาก่อน จะทำให้เข้าใจได้มากขึ้นนะครับ*

(คลิกที่รูปเพื่อดูขนาดเต็ม)

‘แนวทางการเทรด CANSLIM ช่วงตลาดซบเซา (Choppy – Trendless)’

1. ช่วง Trendless นั้น ความแม่นยำของ Follow Through Day (FTD) จะต่ำกว่าปกติมาก เพราะเมื่อตลาดเกิด FTD แล้วก็มักจะ fail สลับไปมาตลอด

set

‘ลักษณะของตลาด Choppy-Trendless ขึ้นลงสลับกัน ไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน’

ดังนั้น ถ้าเรามัวแต่รอ FTD confirm ค่อยเริ่มซื้อหุ้น ก็อาจจะเสียโอกาส เพราะกลุ่มหุ้นนำตลาดมักจะขึ้นกันก่อนที่ตลาดจะเริ่มกลับตัวให้เห็นชัดๆ

ทำไมการรอ FTD ถึงเสียโอกาส?

– 1.1 ตลาดชอบหลอก ; FTD มักจะมาช้า หรือเพิ่งจะเกิดเมื่อหุ้นนำตลาดเริ่มพักหรือจบรอบกัน

– 1.2 เราจะเข้าซื้อหุ้นช้าไป เพราะหุ้นนำตลาดมักจะขึ้นกันก่อนที่ตลาดจะเริ่มกลับตัวให้เห็นชัดๆ

2. ในภาวะแบบนี้ ตลาดชอบที่จะหลอกคนส่วนใหญ่ เช่น เมื่อทำให้เห็นว่าลงชัดก็จะเริ่มกลับตัว หรือเมื่อเกิด FTD ขึ้นแรงชัดๆ อีกไม่นานก็ปรับฐานใหม่ เป็นต้น (ดูรูปตลาดประกอบ)

การเลือกดูหุ้นนำตลาดและจับจังหวะซื้อขายเป็นรายตัว จึงมีความสำคัญกว่าการปรับพอร์ตตามสัญญาณ FTD , DD

เพราะเมื่อตลาดไม่ดี-ซบเซา ก็จะมีหุ้นเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ยังเป็นขาขึ้นได้ ทำให้ไม่เกิดแรงส่งมากพอที่จะทำให้ตัวตลาดเกิด FTD ได้เหมือนช่วงภาวะปกติ

3. ช่วง Trendless Market จังหวะซื้อที่ดีคือ ‘ช่วงที่หุ้นย่อตัวลงมาที่แนวรับสำคัญ (pull-back) ‘

เช่น MA เส้นหลักๆ , Trendline รวมถึง ‘Pocket Pivot Buy Point (PPBP)’

คือการซื้อก่อน breakout ทั่วไป ตอนที่หุ้นกำลังพักทำ base อยู่ แต่เกิดสัญญาณกระตุกจากวอลุ่มขึ้นมา

ก่อนอื่นเลยเราต้องคัดหุ้นที่มีพื้นฐานค่อนข้างดีก่อนนะครับ เพื่อไม่ให้ต้องเสียเวลากับหุ้นที่ยังไม่ดีนักเพราะถ้าภาวะตลาดไม่ดี หุ้นที่จะขึ้นได้แรงก็ต้องดีจริงเท่านั้น

(พื้นฐานดี มี Story , Growth ต่อเนื่อง หรือเติบโตสูงมาก , มีดีล – M&A เป็นต้น)

(อ่านเพิ่มเติมเรื่องการเลือกหุ้น >> Blog 43 : เลือกหุ้นอย่างไรในช่วงที่ไม่มี Fund Flow? )

หลังจากคัดหุ้นมาแล้วก็คอยสังเกตพฤติกรรมของหุ้นว่าเป็นอย่างไรในแต่ละวัน 

โดยให้เราสังเกตว่าแรงขายเริ่มน้อยกว่าแรงซื้อ (วอลุ่มแดงน้อยกว่าเขียว) , คอยดูอาการหุ้นวันที่ตลาดลงหนัก

หากตลาดลงหนักแต่หุ้นที่ดูไว้เริ่มไม่ลงหรือยืนสวนตลาดได้ ก็ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีแล้ว

สาเหตุที่ควรซื้อหุ้นตอนกำลังพัก-ย่อตัว หรือใช้ PPBP มากกว่ารอ Breakout คือ

– 3.1 ต้นทุนจะต่ำกว่าซื้อหลัง breakout พอสมควร

– 3.2 หุ้นยังไม่โดดเด่นจนเกินไปนัก (mass น้อย)

– 3.3 ช่วงตลาด Choppy หุ้นนำตลาดมักจะย่อแรงตามตลาดชั่วคราว ถ้าเราซื้อในจุดที่ปลอดภัยโอกาสโดนสลัดหลุดจะน้อยกว่าซื้อ breakout

– 3.4 ถ้าต้อง cut loss ก็ขาดทุนน้อยกว่าการไปซื้อที่ราคา breakout แน่นอน

‘ตัวอย่างการสังเกตราคาหุ้น และการพักตัวของ Volume

ผมเซฟกราฟไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนนะครับ (ดูวันที่)’

tasco ktc mcs ptg seafco spa.

4. เมื่อเราซื้อในจุดที่ปลอดภัยแล้ว การตั้ง Stop loss ควรตั้งให้พอดี และเผื่อช่วงตลาด panic

เพราะในภาวะตลาด trendless – choppy นั้นมีโอกาสสูงที่ตลาดจะเหวี่ยงลงรุนแรงในบางช่วง

หากเราตั้งจุด stop สั้นเกินไป ก็อาจจะทำหุ้นที่เลือกมาดีแล้วหลุดมือเร็วเกินไปก็เป็นได้

5. Position Size เริ่มต้นควรซื้อน้อยกว่าช่วงตลาดปกติเหมือนการโยนหินถามทาง

แต่ก็อย่าถือหุ้นน้อยเกินจนไม่มีนัยยะกับพอร์ตเพราะจะไม่คุ้มค่าเหนื่อย

เมื่อเห็นว่าเริ่มถูกทางแล้วจะทยอยซื้อเพิ่มแบบพีระมิดตอนหุ้นขึ้น หรือสะสมเพิ่มตอนหุ้นย่อก็ได้ แล้วแต่ความถนัดครับ

6. อย่าคาดหวังว่าหุ้นจะมีกราฟที่สวยงามเหมือนช่วงตลาดขาขึ้น หรือ breakout แล้วหุ้นต้องขึ้นต่อเยอะๆทันที

เพราะช่วงตลาดซบเซานั้น price pattern มักจะผันผวนกว่าที่คิด

และมีการกดราคาให้หลุดแนวรับจิตวิทยาอยู่บ่อยครั้ง (shake-out ให้หลุดมือ)

‘ตัวอย่างหุ้นที่เกิดการ shake-out (ลูกศรแดง) แล้วดันไป new high ใหม่’

fsmart

spa

.vng

.

การโฟกัสที่ weekly chart จะช่วยให้เราดูภาพใหญ่ของหุ้นง่ายขึ้น และทำให้เห็นว่าการ shake-out ไม่กี่วันในกราฟ day เหล่านี้เป็น noise อย่างนึงในแนวโน้มใหญ่ของหุ้น

ซึ่งทางแก้ในเบื้องต้นก็คือ เราอาจจะต้องอดทนให้มากขึ้น หรืออย่ารีบร้อนซื้อขายในระหว่างวัน (intraday trade) เพราะจะทำหุ้นหลุดมือง่ายเกินไป

(ผมเองก็ทำหุ้นหลุดมือบ่อยครับ – -‘ )

7. สิ่งที่สำคัญสุดคือ Price & Volume ของหุ้นรายตัว

ธรรมชาติของเงินจะไหลจากสิ่งที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนต่ำ ไปสู่สิ่งที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงกว่า

และสิ่งที่จะให้ผลตอบแทนสูงในตลาดหุ้น ก็คือ ‘กลุ่มหุ้นนำตลาด’ นั่นเอง

พยายามมองหาหุ้นที่ราคาแข็งๆ หุ้นที่ผลประกอบการยังดีต่อเนื่อง ดูแล้วมีแนวโน้มจะเป็น Leading stock ของช่วงนั้นเอาไว้ครับ 

เพราะในปีนี้หุ้นที่มีแนวโน้มธุรกิจดีและราคาหุ้นแข็งแกร่งจริงๆ ก็จะสามารถสวนภาวะตลาดได้และให้ผลตอบแทนสูงมาก

ดังนั้น เราควรให้ความสำคัญกับ action ของหุ้นรายตัวก่อนภาวะตลาด จะได้ไม่พลาดทำ Leading Stock หลุดมือ หรือกลัวตลาดเกินไปจนไม่ได้ซื้อหุ้นสวยๆ…

อ่านเพิ่มเติมเรื่องการคัดหุ้นนำตลาด และการใช้สูตรกรองหุ้น

– สูตรการคัดกรองหุ้นที่มีค่าความแข็งแกร่งสัมพันธ์มากกว่าตลาด : Leading Stock Screening Formula by Mangmaoclub

– Blog 31 : Finding Monster Stock [Slide & PDF]

สุดท้ายนี้ ต้องบอกว่าบทความนี้เป็นเพียงข้อสังเกตส่วนตัวจากประสบการณ์ของผมเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ได้ถูกต้อง 100% นะครับ

การเล่นหุ้นนั้นแต่ละคนก็จะมีบทเรียนและประสบการณ์ที่แตกต่างกันไปตามแนวทางของตัวเอง

ไม่มีอะไรแน่นอนและตายตัวในตลาดหุ้นครับ

ขอจบบทความนี้ด้วยตัวอย่างหุ้นนำตลาดตัวอื่นๆเพิ่มเติมจากด้านบนครับ ต้องบอกเลยว่าหุ้นพวกนี้ขึ้นแบบไม่สนใจตลาดและหุ้นตัวอื่นๆส่วนใหญ่ในตลาดเลยทีเดียว…

tasco

 ‘TASCO หุ้น High Growth และโตแรงเกินคาด’

brr‘BRR หุ้น High Growth และ Story โรงไฟฟ้าใหม่’

lit ‘LIT หุ้น High Growth อิงภาครัฐ’

mcs ‘MCS หุ้น Turnaround’

ptg ‘PTG หุ้น High Growth ต่อเนื่อง และขยายการลงทุน’

smt ‘SMT หุ้น Turnaround’

synex‘SYNEX หุ้น Turnaround’

Blog 53 : ‘แนวทางการเทรด CANSLIM ช่วงตลาดซบเซา-ผันผวนสูง (Choppy & Trendless)’

13 กรกฎาคม 2015

Author: admin

2 thoughts on “Blog 53 : ‘แนวทางการเทรด CANSLIM ช่วงตลาดซบเซา-ผันผวนสูง (Choppy & Trendless)’

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.