ขงจื๊อ ลัทธิขงจื๊อ ปรัชญา วาทะและคำสอนของขงจื้อ (Confucianism)

ขงจื๊อ ลัทธิขงจื๊อ ปรัชญา วาทะและคำสอนของขงจื้อ (Confucianism)

ผมเป็นคนชอบ ขงจื๊อ อยู่แล้วเลยขอนำข้อมูลและคำสอนมาลงนะครับ 

#################

ขงจื๊อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ขงจื้อ (จีน: ?? ; อังกฤษ: Confucius ; ภาษาไทยมีเรียกกันหลายชื่อ เช่น ขงฟู่จื่อ ขงจื่อ ข่งชิว) (ตามธรรมเนียม, 8 กันยายน 551 ปีก่อน ค.ศ. – 479 ปีก่อน ค.ศ.) ชื่อรอง จ้งหนี เป็นนักคิดและนักปรัชญาสังคมที่มีชื่อเสียงของจีน คำสอนของขงจื๊อนั้น ฝังรากอิทธิพลลึกลงไปในสังคมเอเชียตะวันออกมาเป็นเวลาถึง 20 ศตวรรษ หลักปรัชญาของขงจื๊อนั้นเน้นเกี่ยวกับศีลธรรมส่วนตัว และศีลธรรมในการปกครอง ความถูกต้องเหมาะสมของความสัมพันธ์ในสังคม และ ความยุติธรรมและบริสุทธิ์ใจ

ก่อนสิ้นใจ ขงจื๊อได้ทิ้งท้ายข้อความไว้กับ ซื่อคง ไว้ว่า “ขุนเขาต้องพังทลาย ขื่อคานแข็งแรงปานใด สุดท้ายต้องพังลงมา เหมือนเช่น บัณฑิตที่สุดท้ายต้องร่วงโรย”

confucius_02

ขงจื๊อ

################

ประวัติ

เมื่อขงจื๊อเกิดมาได้ สามปี พ่อที่เป็นคนสูงใหญ่แข็งแรง ก็ตายจากไป เด็กน้อยชอบเล่นตั้งโต๊ะเซ่นไหว้ ชอบเลียนแบบท่าทางพิธีกรรมของผู้ใหญ่ เมื่ออายุได้ 15 ปี ฝักใฝ่การเล่าเรียน อายุ 19 ปี ได้แต่งงานกับแม่นางหยวนกวน ในปีถัดมาได้ลูกชาย ให้ชื่อว่า คงลี้ อายุ 20 ขงจื๊อได้เป็น เสมียนยุ้งฉาง และได้ใส่ใจความถูกต้องเนื่องจากทำงานกับตัวเลข ต่อมาได้ทำหลายหน้าที่รวมทั้ง คนดูแลสัตว์ คนคุมงานก่อสร้าง และในระหว่างที่ศึกษาพิธีกรรมจากรัฐโจว ได้โอกาสไปเยี่ยมเล่าจื๊อ ขงจื๊อมีความสัมพันธ์อันดีกับ เสนาธิบดีของอ๋องจิง และได้ฝากตัวเป็นพ่อบ้าน และได้มีการพูดคุยกับอ๋องในการวางแผน และหลักการปกครอง แต่เนื่องจากโดนใส่ความจากที่ปรึกษาของรัฐ ขงจื๊อจึงเดินทางต่อไปรัฐอื่น ภายหลังได้ฝากฝังตัวเองช่วยบ้านเมือง กับอ๋องติง และได้รับการแต่งตั้งดินแดนส่วนกลางของลู่ เป็นเสนาธิบดีใหญ่ บ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง อาชญากรลดลง คนมีคุณธรรมและเคารพผู้อาวุโส และในระหว่างนั้น ได้มีการแบ่งแย่งดินแดน การแย่งชิงเมืองต่างๆ เกิดขึ้น ขงจื๊อได้เดินทางจากเมืองไปสู่เมืองต่างๆ เรียนรู้หลักการณ์ปกครอง และวัฒนธรรมท้องถิ่นแต่ละที่ ภายหลังได้ถูกหมายเอาชีวิต และถูกขับไล่ให้ตกทุกข์ได้ยาก และได้กลับมาสู่แคว้นลู่อีกครั้ง ขงจื๊อได้เริ่มรวบรวบพิธีกรรมโบราณ บทเพลง ตำราโบราณ และลำดับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น และได้สอนสั่งลูกศิษย์แถบแม่น้ำซูกับแม่น้ำสี ภายหลังขงจื๊อได้ล้มป่วยหนัก และเจ็ดวันให้หลัง ได้อำลาโลก ตรงกับเดือนสี่ทางจันทรคติ ในปีที่ 16 รัชสมัยอ๋องอี้ รวมอายุได้ 73 ปี

################

หลักความรู้

ศาสตร์สี่แขนง ที่ขงจื๊อวางรากฐานไว้ ได้แก่ วัฒนธรรม ความประพฤติ ความจงรักภักดี และ ความซื่อสัตย์ โดยวัฒนธรรมเน้นถึงการเคารพบรรพบุรุษและพิธีการโบราณ ยึดถือผู้อาวุโสเป็นหลัก แต่ไม่ยึดติดหรืออายที่จะหาความรู้จากคนที่ต่ำชั้นหรืออายุน้อยกว่า

แปดหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้ ได้แก่ สำรวจตรวจสอบ ขยายพรมแดนความรู้ จริงใจ แก้ไขดัดแปลงตน บ่มความรู้ ประพฤติตามกฎบ้านเมือง ประเทศต้องได้รับการดูแล นำความสงบสุขมาสู่โลก

ลำดับการเรียนรู้ ได้แก่ พิธีกรรม ดนตรี ยิงธนู ขี่ม้า ประวัติศาสตร์ และ คณิตศาสตร์

คุณธรรมทั้งสาม ที่ได้จากการเรียนรู้ ได้แก่ ภูมิปัญญา เมตตากรุณา และความกล้าหาญ

สี่ขั้นตอนหลักการสอน ได้แก่ ตั้งจิตใจไว้บนมรรควิธี ตั้งตนในคุณธรรม อาศัยหลักเมตตาเกื้อกูล สร้างสรรค์ศิลปะใหม่

สี่ลำดับการสอน ได้แก่ คุณธรรมและความประพฤติ ภาษาและการพูดจา รัฐบาลและกิจการบ้านเมือง และสุดท้ายคือวรรณคดี

################

ลัทธิขงจื๊อ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิขงจื๊อ (Confucianism) เป็นศาสนาหรือลัทธิ ที่มีขงจื๊อ (551 – 479 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นผู้วางรากฐานให้กับลัทธิขงจื๊อที่มุ่งแก้ไขปัญหาการเมืองและสังคมของจีนในสมัยจลาจล โดยเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบสุขเรียบร้อย ทั้งนี้จะถือหลักการเรื่องมนุษยธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักแห่งสัมพันธภาพ 5 ประการ ได้แก่ เมตตาธรรม มโนธรรม จริยธรรม สัตยธรรม ปัญญาธรรม (สอดคล้องกับหลักศีล 5 ของพุทธศาสนา)มีบุคคลบางคนกล่าวว่า ศาสนาขงจื๊อเป็นระบบศีลธรรมหรือหน้าที่พลเมืองดีมากกว่าศาสนา เพราะขงจื๊อมิได้ส่งเสริมให้มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เป็นตัวตน หรือการสวดอ้อนวอน ตลอดจนการบูชาพระผู้เป็นใหญ่ แม้ขงจื๊อจะสอนหนักไปทางจริยธรรมและหน้าที่พลเมืองดี แต่หนังสือบางเล่มที่ขงจื้อแต่งไว้ก็ได้กล่าวถึงเทพเจ้า และอำนาจของเทพเจ้าที่มีอยู่เหนือโลก เช่นคัมภีร์อี้จิง หรือคัมภีร์ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงได้กล่าวถึง ซ่างตี้ หรือเซี่ยงตี่ ซึ่งเป็นผู้สร้างโลก เป็นที่น่าสังเกตว่า ขงจื๊อ เขียนคัมภีร์อี้จิง อันว่าด้วยจักรวาลและการสร้างโลกนั้น เป็นเพียงการรวบรวมความเชื่อของเก่าที่มีมาดั้งเดิมเกี่ยวกับการสร้างโลก ตามความเห็นและความเชื่อถือของคนโบราณ

ขงจื๊อสั่งสอนลูกศิษย์โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ ลูกศิษย์ของขงจื๊อจึงมีทุกชนชั้น ทำให้เกิดชนชั้นปัญญาชนขึ้นในสังคมจีน ปัญญาชนเหล่านี้มีเป้าหมายอยู่ที่การเข้ารับราชการ โดยหวังว่าปัญญาความรู้ความสามารถที่ได้รับการอบรมมาจะเป็นประโยชน์ต่อการปกครองบ้านเมือง และยังเป็นการสร้างชื่อเสียงและฐานะให้กับตนเอง ครอบครัว วงศ์ตระกูลอีกด้วย ลัทธิขงจื๊อ เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่า แนวคิดหยู ซึ่งหมายถึงแนวคิดของปัญญาชน ผู้ที่ศึกษาแนวคิดของขงจื๊อและนักคิดคนอื่นๆ ในกลุ่มนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ปัญญาชนหยู หรือชาวหยู ปัจจุบันลัทธิขงจื๊อแม้จะหมดบทบาทในด้านการเมือง แต่ในด้านวัฒนธรรม ลัทธิขงจื๊อยังฝังลึกอยู่ในสังคมจีนนานนับเป็นศตวรรษจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวจีน

วัดในลัทธิขงจื้อ

################

ประวัติและพัฒนาการ

นับตั้งแต่ขงจื๊อเริ่มรวบรวมตำราและคัมภีร์โบราณได้ห้าเล่ม คือ ซือจิง หรือคัมภีร์กวีนิพนธ์ ซูจิงหรือประวัติศาสตร์โบราณ หลี่จี้ หรือบันทึกว่าด้วยธรรมเนียมประเพณี อี้จิงหรือคัมภีร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงและชุนชิว หรือประวัติศาสตร์สมัยชุนชิว แล้วได้ตั้งสำนักวิชาให้การศึกษาแก่ประชาชน หลังขงจื๊อเสียชีวิตไปแล้ว เม่งจื๊อหรือเมิ่งจื่อ กลายเป็นนักคิดคนสำคัญของสำนักวิชาขงจื๊อหรือหยู เม่งจื๊อได้สังเคราะห์แนวคิดจากคัมภีร์ทั้งห้า ที่เน้นเสนอแนะให้ผู้ปกครองยึดมั่นคุณธรรมและสันติวิธี ยุติศึกสงครามที่กำลังดำเนินอยู่และเดินทางไปเสนอความเห็นแก่ผู้ปกครองในอาณาจักรต่าง ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก ความคิดสำคัญของเม่งจื๊อคือความเชื่อในความดีงามตามธรรมชาติของมนุษย์ การส่งเสริมการศึกษาและยังเสนอว่าผู้ปกครองต้องมีคุณธรรมเหนือกว่าประชาชน อีกทั้งประชาชนพึงเคารพนับถือผู้ปกครองที่มีคุณธรรม หากผู้ปกครองไร้คุณธรรม การล้มล้างเป็นสิ่งที่ชอบธรรม

นักคิดคนสำคัญของสำนักขงจื๊อคือสวินจื่อ ซึ่งเสนอให้อบรมสั่งสอนผู้คนให้มีคุณธรรมเคร่งครัด โดยเห็นว่าธรรมเนียมประเพณีเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีคุณธรรมมากขึ้น สวินจื่อเชื่อว่า “มนุษย์มีธรรมชาติที่ชั่วร้ายเป็นพื้นฐาน” ทำให้ต้องมีการควบคุมและอบรมสั่งสอนให้ยึดมั่นคุณธรรมอย่างจริงจัง

นักคิดและปัญญาชนสำนักวิชาขงจื๊อกลับถูกปราบปรามกวาดล้างครั้งใหญ่ในสมัยราชวงศ์ฉินหรือจักรพรรดิจิ๋นซี ในเหตุการณ์ “เผาตำรา ฝังบัณฑิต” เพราะเห็นว่าปัญญาชนขงจื๊อต่อต้านการปกครองและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลว่าไร้คุณธรรม อย่างไรก็ตาม ลัทธิขงจื๊อได้รับการฟื้นฟูและมีบทบาทอีกครั้งในสมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ.- ค.ศ. 220) และกลายเป็นลัทธิคำสอนที่มีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองของจีนมากที่สุด รวมถึงได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายในสังคมในฐานะหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คน คัมภีร์และตำราของสำนักวิชาขงจื๊อกลายเป็นตำราเรียนและวิชาหลักของชาวจีนตั้งแต่โบราณจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19

################

ปรัชญาสำนักขงจื่อ Confucianism

1. ความเข้าใจเบื้องต้น

โดยพื้นฐานแล้วปรัชญาสำนักขงจื่อเป็นแนวคิดทางจริยศาสตร์ บางคนเข้าใจว่าเป็นศาสนาสำคัญของโลกโดยมีขงจื่อเป็นศาสดา แต่การศึกษาปรัชญาสำนักขงจื่อควรแยกออกจากความเป็นศาสนาขงจื่อ  หัวข้อสารานุกรมนี้ได้ให้ข้อมูลทางจริยศาสตร์ขงจื่อเป็นหลัก โดยมุ่งเน้นอธิบายแนวคิดสำคัญในจริยศาสตร์ขงจื่อเพื่อสร้างความเข้าใจพื้นฐาน มากกว่าเพื่อบอกลักษณะตายตัวของคำสำคัญนั้น  อีกทั้งได้หยิบยกเนื้อหาทางจริยศาสตร์ขงจื่อในบางประเด็นมาอธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นลักษณะเด่นของปรัชญาสำนักนี้  นอกจากนี้ แม้ว่าได้รวมเนื้อหาบางส่วนของสำนักขงจื่อใหม่ (Neo-Confucianism) ไว้เพื่อให้เห็นพัฒนาการความคิด แต่จะเน้นให้ข้อมูลความคิดของขงจื่อซึ่งเป็นผู้เริ่มวางแนวทาง   รวมทั้งส่วนที่เมิ่งจื่อ และสวินจื่ออธิบายเพิ่มเติมต่อจากขงจื่อเป็นหลัก

ปรัชญาสำนักขงจื่อกำเนิดขึ้นในยุคสมัยชุนชิวและจั้นกั๋ว (ยุคฤดูไม้ผลิ-ฤดูใบไม้ร่วง และยุคสงครามระหว่างรัฐ 722-221 ก่อนคริสตศักราช) ของแผ่นดินจีน  สมัยนั้นเป็นยุคที่บ้านเมืองวุ่นวาย แว่นแคว้นทั้งหลายต่างรบพุ่งกัน สำนักคิดนับร้อยที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจึงมุ่งหาว่าอะไรคือวิถีที่แท้ในการดำเนินชีวิตและการจัดระเบียบสังคม มากกว่าจะหาคำตอบว่าอะไรคือความจริง  คำว่า “Confucianism” ใช้เรียก “หรูเจีย” (?   ?  สำนักหรู) ในภาษาจีน ซึ่งเป็นกลุ่มคนในสังคมที่มีอยู่แล้วตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซัง (1600?-1045? ก่อนคริสตศักราช) เป็นผู้รู้จารีต พิธีกรรมเป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นครูสอนวิชาความรู้ทั้งหก รวมทั้งดนตรีด้วย ขงจื่อ (Confucius  ??551-479 ก่อนคริสตศักราช)  (“จื่อ” เป็นคำยกย่องว่าอาจารย์) เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นนักคิดสำคัญที่สุดของสำนักปรัชญานี้ ก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มคนดังกล่าว แต่ท่านมิได้เหมือนสำนักหรูคนอื่นตรงที่ท่านได้เล็งเห็นว่าการที่สังคมไร้ระเบียบเป็นเพราะผู้คนละทิ้งการดำเนินชีวิตตามบรรทัดฐานและคุณค่าตามขนบเดิม ขงจื่อเชื่อว่าวิถีชีวิตและการปกครองที่อยู่ในระบบจารีตและคุณธรรมเป็นมรรควิธี (เต๋า  ?คำนี้มิได้ใช้เฉพาะลัทธิเต๋าเท่านั้น โดยทั่วไปหมายถึง “วิถี” สำหรับสำนักขงจื่อหมายรวมถึงอุดมคติทางจริยะด้วย) ที่งดงามเหมาะสมที่สุด ความกลมกลืน (เหอ  ?) ของสังคมจะเกิดขึ้นได้หากผู้คนในสังคมปฏิบัติจารีตและคุณธรรมตามนามคู่สัมพันธ์ทั้งห้า (ผู้ปกครอง-ผู้ใต้ปกครอง, พ่อแม่-บุตร, พี่-น้อง, สามี-ภรรยา, เพื่อน-เพื่อน) หรูเจียในภาษาจีนจึงมิได้มีนัยพิเศษว่าเป็นแนวคิดที่ยึดถือคำสอนของขงจื่อเหมือนในภาษาอังกฤษเท่านั้น หากแต่หมายรวมถึงสำนักความคิดที่เชื่อในการดำเนินชีวิตตามขนบจารีตในสังคมดั้งเดิม

แม้ว่าขงจื่อจะประกาศตนว่าเป็นผู้สืบทอดของเก่าและชื่นชมในความเป็นราชาปราชญ์ของบุรพกษัตริย์เหยาและซุ่นก็จริง แต่ขงจื่อก็มิได้ยึดตามของเก่าหมดทุกอย่าง ขงจื่อได้ปรับเปลี่ยนความหมายของคำตามขนบ อย่างเช่น เทียน (?) เหริน  (?) และ จวินจื่อ (??) ให้มีความหมายทางจริยะ อีกทั้งท่านยังเชื่อมั่นในศักยภาพของมนุษย์ในการขัดเกลาตนเพื่อแก้ปัญหาของปัจเจกบุคคลและสังคมด้วยตัวของมนุษย์เอง อันเป็นการยกระดับความเป็นมนุษยนิยม (humanism) ให้สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ขงจื่อกล่าวไว้ว่า “มนุษย์สามารถทำให้มรรควิถียิ่งใหญ่ได้ แต่มรรควิธีไม่อาจทำให้มนุษย์ยิ่งใหญ่ได้” (หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา, 15:28) คำสอนของขงจื่อมีอิทธิพลต่อชาวจีนทุกวันนี้ก็จริง  แต่ในช่วงชีวิตของท่าน กลับประสบความล้มเหลวในการเผยแพร่คำสอนต่อผู้ปกครอง  หลังจากที่เดินทางไปยังรัฐต่างๆเป็นเวลา 13 ปี ในช่วงบั้นปลายชีวิตขงจื่อได้อุทิศตนให้กับการสอน และได้เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญในวรรณกรรมจีน ที่ภายหลังเรียกว่าคัมภีร์ทั้งห้า (อู่จิง) คือ ซูจิง (คัมภีร์ประวัติศาสตร์) ซือจิง (คัมภีร์ว่าด้วยลำนำกวี) เย่ว์จิง (คัมภีร์ว่าด้วยดนตรี) ชุนชิว (บันทึกพงศาวดารและปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ) และ หลี่จิง (คัมภีร์ว่าด้วยพิธีกรรม)   ขงจื่อไม่ได้มีงานเขียนทางปรัชญาเป็นของตนเอง  แต่เราสามารถศึกษาคำสอนของท่านได้จากคัมภีร์ขงจื่อ หรือ หลุ่นอี่ว์ (?   ? ) ซึ่งบรรดาศิษย์ได้รวบรวมคำพูดและบทสนทนาระหว่างขงจื่อกับลูกศิษย์เอาไว้

นอกจากขงจื่อแล้ว นักปรัชญาสำคัญท่านอื่นๆ ได้แก่ เมิ่งจื่อ (Mencius  ??372?-289 ก่อนคริสตศักราช)  กับ สวินจื่อ  (Xunzi ? ?ปีมรณะอาจอยู่ระหว่าง 298-238 ก่อนคริสตศักราช) ทั้งคู่ต่างยึดถือคำสอนของขงจื่อและได้โต้แย้งข้อวิพากษ์วิจารณ์ของสำนักคิดอื่นๆ อย่าง เอี๋ยงจู ม่อจื่อ และ เต๋า อีกทั้งยังพัฒนาคำสอนของขงจื่อจนแตกต่างจากแนวคิดเดิมในบางประเด็น เช่น เมิ่งจื่อมองว่าธรรมชาติของมนุษย์ดี  การทำตามจารีตจึงเป็นการแสดงความจริงใจและการควบคุมจิต/ใจ (heart/mind  ?) ภายใน  อีกทั้งรัฐที่ดีผู้ปกครองจะต้องปกครองด้วยจิต/ใจแห่งมนุษยธรรม (เหรินเจิ้ง  ? ?เมิ่งจื่อเป็นท่านแรกที่ใช้คำนี้) ในขณะที่ซุ่นจื่อมองว่าธรรมชาติของมนุษย์ชั่วร้าย หลักการปกครองจึงต้องใช้อำนาจ กฎหมาย และการเก็บภาษีควบคุม จารีตจึงเป็นเครื่องมือบังคับทางสังคมภายนอก   อิทธิพลความคิดของทั้งคู่ขับเคี่ยวกันในสมัยจั้นกั๋ว  ในสมัยนั้นคำสอนของสวินจื่อได้รับการตอบรับมากกว่า  ดูได้จากลูกศิษย์หลายคนได้รับราชการในรัฐฉิน โดยหนึ่งในนั้นคือหานเฟย (Han Fei  ?   ?  280-233 ก่อนคริสตศักราช) ซึ่งนำความคิดเรื่องการปกครองด้วยกฎหมายไปพัฒนาต่อเป็นสำนักนิตินิยม (Legalism ฝ่าเจีย  ?  ?)  อย่างไรก็ตาม หานอี้ว์ (Han Yu  ?   ?  768-824) นักปรัชญาสำนักขงจื่อในสมัยราชวงศ์ถัง (618-907) ยึดถือว่าเมิ่งจื่อเป็นผู้สืบทอดคำสอนของขงจื่ออย่างแท้จริงเท่านั้น   ทัศนะนี้ได้ส่งผลสืบต่อไปยังจูซี (Zhu Xi  ?  ?   1130-1200) นักปรัชญาสำนักขงจื่อใหม่   ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (960-1279) จูซีได้รวบรวมหลุนอี่ว์  คัมภีร์เมิ่งจื่อ  คัมภีร์การร่ำเรียนอันยิ่งใหญ่ (?   ? ) และ คัมภีร์จงยง (?   ? ) ไว้เป็นคัมภีร์ทั้งสี่ ซึ่งต่อมากลายเป็นคัมภีร์หลักของปรัชญาสำนักขงจื่อ   หลังจากจูซี คำสอนของขงจื่อได้พัฒนาออกไปอย่างต่อเนื่อง เช่น หวังหยังหมิง (Wang Yangming  ?   ?  ? 1472-1529) ในสมัยราชวงศ์หมิง (1472-1529) และไต้เจิ้น (Dai Zhen ?    ?  1724-1777) ในสมัยราชวงศ์ชิง (1644-1912)  เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักปรัชญาหลังขงจื่อเหล่านี้จะพัฒนาความคิดทางอภิปรัชญาเพิ่มเติมโดยใช้คำสำคัญพื้นฐานอธิบายทัศนะของตนที่แตกต่างกัน อย่างเช่นคำว่า เหริน (?) และ ซิน  (?)  เป็นต้น  แต่ทั้งหมดก็เพื่อตอบปัญหาทางจริยศาสตร์ว่าเราควรจะดำเนินชีวิตอย่างไร  โดยยึดถือจารีตและคุณค่าตามขนบเป็นบรรทัดฐาน  อีกทั้งยังยึดคำสอนขงจื่อและคัมภีร์ทั้งสี่เป็นหลัก  ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่านักปรัชญาสำนักขงจื่อทั้งหมดให้ความสำคัญแก่จริยศาสตร์เป็นหลักใหญ่

2. จริยศาสตร์สำนักขงจื่อ

ปรัชญาสำนักขงจื่อเสนอเนื้อหาทางจริยศาสตร์ที่แจกแจงชุดคุณธรรม (เต๋อ  ?) เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติโดยอิงกับมาตรฐานและคุณค่าตามขนบจารีต โดยมีคุณธรรมหลักอย่าง เหริน หลี่ อี้  เป็นคุณธรรมพื้นฐาน  และมีคุณธรรมอย่างความกตัญญู (เซี่ยว  ? ) ความจงรักภักดี (จง  ? ) ความจริงใจ (เฉิง  ? ) ความเคารพ (จิ้ง  ? ) ความกล้าหาญ (หย่ง ? ) เป็นต้น  เป็นคุณธรรมเฉพาะตามบทบาทหน้าที่ของนามตามสถานภาพต่างๆ

ขนบการเขียนปรัชญาในวัฒนธรรมจีนยุคคลาสสิก รวมทั้งนักปรัชญาสำนักขงจื่อมิได้อธิบายความคิดโดยวิเคราะห์มโนทัศน์ แล้วเสนอนิยามอย่างเป็นสากลและเป็นระบบสำหรับคำสำคัญทางจริยะอย่าง เหริน  หลี่  อี้   หากแต่อธิบายแนวคิดเหล่านี้ในบริบทเฉพาะต่างๆ ทำให้ความหมายมีความเป็นไปได้อย่างกว้างขวางและยืดหยุ่นตามสถานการณ์เฉพาะ  ดังที่สำนักขงจื่อมีหลัก เจิ้งหมิง (?  ? ) หรือการแก้ไขนามให้ถูกต้อง ซึ่งเน้นแก้ไขภาษาจากการปฏิบัติอย่างมีศีลธรรมที่ต้องตรงนามตามสถานภาพนั้น  มากกว่าแก้ที่ระดับนิยามที่เป็นสากลไร้บริบทหรือความสัมพันธ์เฉพาะ  เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะสองสมมติฐานด้วยกัน ประการแรก ปรัชญาจีนให้ความสำคัญกับความรู้ทางปฏิบัติมากกว่าทฤษฎี  ดังที่ปรากฏในหลัก จือสิงเหออี่ (?   ?  ?  ? ) ของสำนักขงจื่อ ที่ความรู้กับการกระทำต้องกลมกลืนกัน ทำให้การอธิบายเน้นทางปฏิบัติ แทนที่จะพยายามให้กฎเกณฑ์เป็นทฤษฎี  ทั้งนี้การเน้นปฏิบัติมิใช่ละเลยความสำคัญของความรู้ในทางทฤษฎี  เพียงแต่ “ความรู้” ในทางจริยะจะต้องมีผลในทางปฏิบัติต่อการสร้างความกลมกลืนในชุมชน  ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติที่แตกต่างกันในแต่ละสถานการณ์  การอธิบายโดยให้กฎสากลที่ตายตัวจึงไม่เพียงพอและไม่ตรงกับเป้าหมายของปรัชญาสำนักขงจื่อที่ไม่สนใจ “การเรียนรู้” ใด ที่ไม่นำไปสู่การปฏิบัติ     ประการที่สอง เนื่องจากปรัชญาสำนักขงจื่อเน้นปฏิบัติโดยอิงอยู่กับความเข้าใจขนบจารีตและวัฒนธรรมเป็นฉากหลังของการอธิบาย  ทำให้การใช้เหตุผล และการอ้างเหตุผลของนักปรัชญาสำนักขงจื่อมีลักษณะเป็นสำนวนโวหาร ซึ่งไม่เน้นการมีบทสรุปชัดเจนเป็นคำตอบเดียว และเป็นการอ้างเหตุผลโดยยกตัวอย่าง  ด้วยเหตุนี้ ผู้เริ่มศึกษาจึงอาจประสบปัญหากับการเข้าใจและอธิบายจริยศาสตร์ขงจื่อ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจริยศาสตร์ขงจื่อเน้นการขัดเกลานิสัยและพัฒนาตนจนมีคุณธรรมอย่างวิญญูชนหรือจวินจื่อ (คำนี้เดิมหมายถึงขุน หรือขุนนาง  แต่ขงจื่อปรับเปลี่ยนความหมายเป็นผู้ที่ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมอันสมบูรณ์  ตรงข้ามกับเสี่ยวเหริน ( ?  ? ) ซึ่งเป็นผู้มีใจคอคับแคบ ใส่ใจแต่ผลประโยชน์ของตน)  จึงทำให้มีการศึกษาจริยศาสตร์ขงจื่อโดยใช้กรอบการอธิบายของจริยศาสตร์คุณธรรม (ดูจริยศาสตร์คุณธรรม virtue ethics เพิ่มเติม) อย่างเช่นการศึกษาของ แอนโตนิโอ เอส กัว  ลี เยียร์เลย์ และ เดวิด นิวิสัน  เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จริยศาสตร์ขงจื่อจะเน้นการขัดเกลาคุณธรรมและลักษณะนิสัยของบุคคลซึ่งคล้ายกับจริยศาสตร์คุณธรรม แต่จริยศาสตร์ขงจื่อก็มีส่วนที่แตกต่าง จึงเป็นการเสี่ยงหากจะด่วนสรุปจริยศาสตร์ขงจื่อว่าเป็นจริยศาสตร์คุณธรรมโดยละเลยส่วนที่แตกต่างนี้  หลิว (Yuli Liu, 2003: 151-154) ได้ให้ความเห็นว่าจริยศาสตร์ขงจื่อไม่ได้แยกวิถีที่เป็นสากล (เต๋า) ออกจากคุณธรรมที่เป็นอัตวิสัย (เต๋อ) กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนสามารถเข้าใจเต๋าได้ จากการตระหนักถึงจิต/ใจ แล้วเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์  เพราะจิต/ใจเป็นภาพสะท้อนภาพใหญ่ของสวรรค์ อย่างที่เมิ่งจื่อกล่าวไว้ว่าหากใครเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ก็ย่อมเข้าใจสวรรค์ (Mencius, 7A:1) ดังนั้น เมื่อเต๋ากับเต๋อรวมเข้าด้วยกัน สิ่งที่จิต/ใจปรารถนาจึงเป็นอย่างเดียวกับเต๋า อย่างที่ขงจื่อกล่าวไว้ว่าเมื่อท่านอายุ 70 ท่านสามารถทำตามใจได้โดยไม่ละเมิดความถูกต้อง (หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา, 2:4) ในขณะที่อริสโตเติลมิได้ยึดถือวิถีที่เป็นวัตถุวิสัยเป็นเป้าหมาย หากแต่ยึดถือความสุข ซึ่งมาจากการมีชีวิตที่ดีเป็นเป้าหมายของมนุษย์แทน กล่าวคือการขัดเกลาคุณธรรมก็เพื่อการมีชีวิตที่ดีและความสุขดังกล่าว โดยมิได้มีจุดประสงค์เพื่อพบกับ “สิ่งที่ดีสูงสุด” อื่นใด  ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่ถกเถียงได้ว่าจริยศาสตร์ขงจื่อเป็นจริยศาสตร์คุณธรรมหรือไม่

3. แนวคิดสำคัญในจริยศาสตร์ขงจื่อ

3.1 เหริน (?)

เหรินเป็นคำที่ใช้อยู่แล้วโดยทั่วไปในสมัยขงจื่อ เป็นคุณธรรมเฉพาะระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองหมายถึงความเมตตากรุณา แต่ขงจื่อได้ปรับเปลี่ยนความหมายให้ใหม่เป็นคุณธรรมพื้นฐานครอบคลุมถึงคุณธรรมทั้งหมดที่แสดงความรักความอาทรต่อความเป็นอยู่ของผู้อื่นทั้งในระดับครอบครัวและชุมชนในฐานะที่เป็นมนุษย์  เหรินจึงแปลเป็นไทยได้ว่า “มนุษยธรรม” ในบางครั้งเหรินก็มีความหมายเฉพาะเป็นอารมณ์รัก และความอาทรที่มีต่อผู้อื่นอย่าง พ่อแม่ พี่น้อง หรือ เพื่อน เป็นต้น  อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาเหรินมิได้มีความหมายครอบคลุมเฉพาะความอาทรระหว่างมนุษย์เท่านั้น เมิ่งจื่อมองว่าความอาทรจะต้องขยายไปสู่สัตว์บางชนิด ส่วนนักปรัชญาสำนักขงจื่อในสมัยราชวงศ์ซ่งและหมิงมองว่าจะต้องขยายครอบคลุมถึงทุกสิ่งรวมทั้งพืชพันธุ์และสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆด้วย  สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือไม่ว่าจะเป็นปรัชญาสำนักขงจื่อในสมัยใด  เหรินจะต้องมีระดับขีดขั้น  กล่าวคือ ความรักความอาทรและการปฏิบัตที่มีต่อพ่อแม่และคนในครอบครัวย่อมมาก่อนและพิเศษกว่าความสัมพันธ์อื่น  ในขณะที่การปฏิบัติต่อผู้อื่นย่อมแตกต่างกับการปฏิบัติต่อสิ่งมีชีวิต  เช่น ในกรณีที่เรามีเหรินต่อสัตว์  เราเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารหรือเป็นสัตว์เลี้ยง แต่จะไม่ใช้ประโยชน์อย่างเกินความจำเป็น และไม่ทำทารุณกรรม เป็นต้น

นอกจากนี้ นัยของเหรินมิใช่คุณธรรมที่ทำเพื่อผู้อื่นเท่านั้น แต่มีนัยของการทำเพื่อชีวิตที่ดีของตนเองด้วย อย่างในหลุนอี่ว์ 4:15 ซึ่งบันทึกไว้ว่าคุณธรรมจงกับซู่  เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการมีเหริน  ขงจื่อกล่าวกับเจิ้งจื่อ (หรืออาจารย์เจิง) ว่า “เซิน คำสอนของเรามีเอกภาพ” เจิงจื่อตีความว่า “คำสอนอาจารย์ของเราคือให้มุ่งมั่นสัตย์ซื่อ (จง  ? ) และเอาใจเขามาใส่ใจเรา (ซู่   ? )”  ถึงแม้ความสัมพันธ์ระหว่างจง กับ ซู่  จะมีปัญหาในการตีความได้หลายประการ แต่บทนี้ก็แสดงให้เห็นได้ว่าจริยศาสตร์ขงจื่อให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเพื่อการมีชีวิตที่ดีด้วย

ในยุคหลังๆ สำนักขงจื่อผูกโยงความเข้าใจเหริน ไว้กับฟ้าหรือสวรรค์ (เทียน  ? ) (เดิมคำนี้ใช้หมายถึงสิ่งสูงสุดที่สามารถกำหนดชะตากรรมบ้านเมืองได้ ขงจื่อได้ปรับเปลี่ยนความหมายเป็นชะตากรรมและพันธกิจทางจริยะของปัจเจกบุคคล) ซึ่งมีนัยเป็นสิ่งสูงสุดและเป็นการแสดงออกซึ่งเป้าหมายบางอย่างของธรรมชาติ  โดยมองว่าเทียนให้กำเนิด บำรุงเลี้ยง และมอบพลังชีวิตที่ไม่หมดสิ้นกับร่างกาย การให้กำเนิดและการบำรุงเลี้ยงสิ่งต่างๆนี้เรียกว่าเหรินของเทียน มนุษย์จึงควรมีจิต/ใจหรือซินอย่างจิต/ใจของเทียน ด้วยการขัดเกลาพัฒนาตนจนมีเหริน    อันเป็นการบรรลุสภาวะที่ตระหนักถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่งว่าเกี่ยวโยงถึงตัวเรา

3.2 หลี่ (? )

หลี่หมายถึงขนบจารีต และพิธีกรรมในบริบทสังคมต่างๆ  เช่น พิธีแต่งงาน พิธีศพ การต้อนรับแขก  การเข้าเฝ้ากษัตริย์ เป็นต้น รวมถึงเป็นหลักแบบแผนปฏิบัติที่เหมาะสมตามนามคู่สัมพันธ์ต่างๆ เช่น การดูแลพ่อแม่ยามแก่ชรา การเชื่อฟังและเคารพพี่  เป็นต้น  ในความหมายกว้างหลี่จึงเป็นมาตรฐานทางสังคม  สวินจื่อบางครั้งใช้ หลี่ สลับกับหลี่อี้ (? ?) เพื่อสื่อถึงมาตรฐานทางสังคม และมักใช้หลี่ในความหมายเป็นจารีตพิธีกรรม  แต่ไม่ว่าหลี่จะเป็นจารีตที่เป็นพิธีกรรมหรือไม่ก็ตาม  หลี่เป็นกฎทางสังคมที่ควรปฏิบัติเพื่อสืบทอดความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม และคงความสัมพันธ์ของคนในสังคมเอาไว้  ชุมชนใดที่คงจารีตไว้ได้  จึงคงความเป็นชุมชนมนุษย์ สิ่งสำคัญเหนืออื่นใด การปฏิบัติหลี่จะต้องกระทำอย่างมีเหรินซึ่งออกมาจากจิต/ใจที่มีความเคารพ จริงใจ และจริงจัง มิใช่ทำตามรายละเอียดพิธีกรรมครบถ้วนเพียงเปลือกนอก  อย่างที่ขงจื่อกล่าวไว้ว่า “หากมนุษย์ขาดซึ่งมนุษยธรรม  เขาจะมีอะไรข้องเกี่ยวกับขนบจารีตได้เล่า  หากมนุษย์ขาดซึ่งมนุษยธรรม  เขาจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับดนตรีได้เล่า?” (หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา, 3:3) นอกจากนี้ การที่สำนักขงจื่อให้ความสำคัญกับหลี่ มิได้หมายความว่าจะเป็นพวกอนุรักษ์นิยม ในหลุนอี่ว์มีตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนจารีตเพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจ ส่วนในคัมภีร์เมิ่งจื่อมีตัวอย่างของการไม่ปฏิบัติตามจารีตในกรณีฉุกเฉิน ในคัมภีร์สวินจื่อก็มีการพูดถึงการปรับเปลี่ยนจารีตไปตามสถานการณ์ชีวิตต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้กระทั่งนักปรัชญาสำนักขงจื่อในยุคต่อมาอย่างหวังหยางหมิง ก็ได้อธิบายไว้ว่าสิ่งสำคัญที่สุดของการสืบทอดจารีตคือการรักษาจิตวิญญาณของการทำตามจารีตพิธีกรรมไว้

หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่ากลไกการทำงานของจารีตเป็นอย่างไร ทำไมการทำตามจารีตพิธีกรรมจึงจัดระเบียบสังคมได้   แอนโตนิโอ  เอส. คัว (Antonio S. Cua, 1998) ได้สรุปบทบาทหน้าที่ของหลี่ไว้สามประการด้วยกัน  ประการแรก  หน้าที่พื้นฐานของหลี่ คือป้องกันความขัดแย้งในสังคม  เพราะหลี่ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ตามนามสถานภาพไว้แล้ว ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามนั้นความกลมกลืนย่อมตามมาได้  หลี่ในบทบาทนี้อาจจะคล้ายกับกฎศีลธรรมหรือกฎหมายทั่วไปอย่างเช่น ห้ามฆ่าคน หรือห้ามลักขโมย  ซึ่งเป็นกฎบังคับควบคุมพฤติกรรม ในลักษณะที่ขัดขวางป้องกันความอยากและความปรารถนาที่ไม่เหมาะสม  หลี่ในหน้าที่นี้จึงมิได้ชี้นำว่าจะต้องมีความอยากความปรารถนาอย่างไรถึงจะเหมาะสม  หากแต่บอกว่าเป้าหมายใดที่ไม่ถูกต้องมากกว่า   ประการที่สอง  หลี่ทำหน้าที่ส่งเสริมพฤติกรรมบางอย่าง หมายความว่าหลี่ให้เงื่อนไขหรือโอกาสที่จะแสดงออกความคิด ความรู้สึก และความอยากความปรารถนาตามธรรมชาติโดยผ่านรูปแบบพฤติกรรมที่กำหนดหรือตกลงร่วมกันได้  แทนที่จะเก็บกดความรู้สึกเอาไว้  นัยสำคัญของหลี่ในบทบาทหน้าที่นี้ก็คือ การยอมรับให้มีการแสดงอารมณ์ความรู้สึกตามธรรมชาติของมนุษย์โดยมีค่าทางศีลธรรม     ประการที่สาม หลี่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นลักษณะโดดเด่นของจริยศาสตร์ขงจื่อและวัฒนธรรมจีน  กล่าวคือหลี่ทำหน้าที่ขัดเกลาอารมณ์ความรู้สึกโดยใช้รูปแบบพฤติกรรมที่เหมาะสม  เพียงแต่การทำตามจารีตในหน้าที่ที่สามนี้มิใช่มุ่งเน้นการทำหน้าที่ตามนามสถานภาพ หรือควบคุมความอยากความปรารถนา  หากแต่เพื่อการแสดงออกในรูปแบบที่สง่างามเพื่อบ่งบอกความมีวัฒนธรรม (เหวิน  ?) กล่าวอีกอย่างคือเพื่อพัฒนาคุณธรรมในตัวมนุษย์ให้งดงาม (เหม่ยเต๋อ  ??)  โดยให้เกิดความสมดุลระหว่างอารมณ์กับรูปแบบที่แสดงออกนั่นเอง  เช่น หากลูกต้องการตักเตือนพ่อแม่  แต่แสดงออกอย่างไม่เหมาะสม ก็จะกลายเป็นการก้าวร้าว  หากไปพิธีศพแต่แต่งกายไม่เรียบร้อย ก็ถือว่าเป็นการไม่เคารพสถานที่และผู้ตาย  เป็นต้น  จวินจื่อ หรือวิญญูชนก็คือผู้ที่ขัดเกลาจารีตและคุณธรรมแล้ว ทำให้อารมณ์ความรู้สึกและการแสดงออกมีความกลมกลืนกัน จนมิได้มีความรู้สึกว่าตนถูกบังคับควบคุม  การทำตามจารีตของวิญญูชนซึ่งเป็นระดับอุดมคตินี้จึงมีทั้งความงดงาม  เป็นอิสระ  และปีติยินดีที่ได้ทำ

3.3 อี้  (? ) และความสัมพันธ์กับ หลี่ (? )

โดยทั่วไปอี้แปลว่าความถูกต้องเที่ยงธรรม เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่สำคัญเพราะทำให้การทำตามหลี่มีความสมเหตุสมผล  อี้มีความหมายว่า ความเหมาะสมด้วย ตามที่ปรากฏในคัมภีร์จงยง การตัดสินว่าอะไรถูกต้องเหมาะสมก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินอย่างมีเหตุผล ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าอี้เป็นคุณธรรมที่แสดงการพิจารณาตัดสินอย่างมีเหตุผลว่าอะไรควรปฏิบัตในสถานการณ์เฉพาะ  โดยทั่วไปการทำตามหลี่เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมอยู่แล้ว แต่ในสถานการณ์เฉพาะที่นอกเหนือจากที่หลี่กำหนดไว้ หรือในกรณีฉุกเฉิน อี้จะทำหน้าที่ตัดสินว่าควรปฏิบัติอย่างไร  ในบางครั้งการทำตามอี้ มิได้หมายความว่าจะต้องทำตามหลี่  ตัวอย่างเช่นขงจื่อยอมรับการปรับเปลี่ยนจารีตจากการใช้หมวกปอในพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษเป็นหมวกไหม เนื่องจากสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประชาชน ในขณะที่การเปลี่ยนมาโค้งศรีษะหลังเข้าห้องโถงแล้ว ขงจื่อไม่เห็นด้วย เพราะทำให้ความหมายของจารีตเดิมเปลี่ยนเป็นการเย่อหยิ่ง  แม้ว่าการเปลี่ยนมาก้มศรีษะภายหลังจะสอดคล้องกับความนิยมในสังคมที่เปลี่ยนไปก็ตาม  (หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา, 9:3) หรือตอนที่ขงจื่อป่วย เจ้าเมืองมาเยี่ยม ขงจื่อจะหันศรีษะไปทางทิศตะวันออก  เอาชุดเข้าเฝ้ามาคลุมกาย  แล้วผูกสายรัดเอาไว้ (หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา, 10:13) เป็นต้น   แม้ว่า หลี่กับอี้จะเกี่ยวข้องกัน แต่มีข้อน่าสังเกตคือในขณะที่หลี่อาจละเว้นไม่ปฏิบัติได้ในบางสถานการณ์  แต่อี้มิอาจละเว้นได้

นอกจากนี้ อี้ยังเกี่ยวข้องกับความละอาย (ฉื่อ   ? ) ด้วย  คำว่า ฉื่อ นี้มิใช่หมายถึงความละอายในสิ่งที่ได้ทำไปแล้วเท่านั้น แต่รวมถึงความละอายในสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย กล่าวคือคนที่มีอี้จะผูกพันตนกับมาตรฐานทางจริยธรรมที่แน่นอน ทำให้ไม่ทำในสิ่งที่เบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานนั้น โดยที่มาตรฐานนั้นมิได้จำเป็นจะต้องเป็นจารีตหรือสิ่งที่สังคมยึดถือปฏิบัติ แต่อาจเป็นสิ่งที่กำหนดศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ คนที่มีอี้จะเกิดความละอายหากเห็นในสิ่งที่ละเมิดบรรทัดฐานทางสังคมหรือความเป็นมนุษย์ เช่น ขอทานที่หิวจนตาลาย แต่ก็ไม่รับอาหารที่คนโยนให้เหมือนให้อาหารสัตว์ก็ถือว่ามี อี้ เป็นต้น   นอกจากนี้ อี้ยังเกี่ยวข้องกับการยึดถือความถูกต้องแม้ว่าจะได้รับอิทธิพลภายนอกซึ่งไม่อาจควบคุมได้อย่างชะตากรรม (มิ่ง  ? ) เช่น ความพิการ  การเจ็บไข้  เชื้อสายฐานะ  เป็นต้น  คนที่มีอี้แม้ว่าจะประสบกับชะตากรรมดีร้ายอย่างไรก็ยังยึดมั่นในความถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ เหมือนอย่างที่ขงจื่อหันมาทุ่มเทกับการสอน หลังจากที่ยอมรับความล้มเหลวในการเผยแพร่คำสอนต่อผู้ปกครองของรัฐต่างๆ   เป็นต้น

4. มโนทัศน์เรื่องตัวตน

อย่างที่กล่าวไว้แล้ว ขงจื่อมองว่าการแก้ปัญหาความไร้ระเบียบของสังคมต้องมาจากการขัดเกลาพัฒนา จริยธรรมของปัจเจกบุคคล เพราะการปกครองและนโยบายที่ดีย่อมมาจากผู้ปกครองที่มีจริยธรรม  ก่อนที่จะกล่าวถึงการขัดเกลาตนในหัวข้อต่อไป เราควรเข้าใจก่อนว่าสำนักขงจื่อมีทัศนะเกี่ยวกับมนุษย์และตัวตนอย่างไร  สำนักขงจื่อมองว่ามนุษย์ประกอบด้วยส่วนต่างๆของร่างกาย (ถี่   ? ) โดยอวัยวะส่วนต่างๆนี้นอกจากจะทำหน้าที่ของมันแล้ว ยังมีแนวโน้มเป็นลักษณะประจำของอวัยวะนั้น เช่น ตานอกจากจะมองเห็นสิ่งต่างๆแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะชอบดูของสวยงาม  ลิ้นก็มีแนวโน้มชอบลิ้มรสของอร่อย เป็นต้น  แนวโน้มดังกล่าวก็คือ ความอยากความปรารถนานั่นเอง (อิ้ว์   ? )  ซึ่งเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ (ฉิง  ? ) เช่น รัก เสียใจ  โกรธ เป็นต้น  นอกจากนี้ มนุษย์ยังประกอบด้วยชี่ (? ) ซึ่งเป็นพลังประเภทหนึ่งที่ทำให้มนุษย์มีชีวิต (vital force) ชี่ทำหน้าที่ควบคุมประสาทสัมผัส เช่นทำให้ปากเปล่งวาจา ทำให้ตามองดูสิ่งตรงหน้า  ในทางกลับกัน ชี่ก็ได้รับผลกระทบจากสิ่งผ่านประสาทสัมผัสเข้ามาได้  เช่น อาหารและรสชาติที่กระทบลิ้น   เป็นต้น  นอกจากนี้ ชี่ยังเกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก  การมีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงจึงมาจากการมีพลังชี่ที่สมดุล  สิ่งที่แสดงผ่านร่างกายและอารมณ์อย่างการเจ็บไข้ และความตื่นกลัวย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความแปรปรวนของพลังชี่

ส่วนที่สำคัญที่สุดอีกอย่างก็คือจิต/ใจ (heart/mind ซิน ? ) ซึ่งทำหน้าที่ในการคิด และมีอารมณ์ความรู้สึก  ดังนั้น ซินจึงเกี่ยวข้องกับความปรารถนาและความรู้สึก  หน้าที่ของซินที่นักปรัชญาสำนักขงจื่อมองว่าสำคัญที่สุดคือชี้นำ และกำหนดทิศทางชีวิตคนนั้นได้ทั้งหมด  โดยจิต/ใจที่ชี้นำได้นั้นจะต้องมีเจตจำนง (จื้อ ? )  ในขณะที่ ความปรารถนาอาจจะชี้นำได้แต่ก็อาจอยู่ใต้อิทธิพลของร่างกาย มิใช่จากจิต/ใจ  เหตุที่ซินทำหน้าที่ดังกล่าวได้เพราะสำนักขงจื่อมีทัศนะเกี่ยวกับตัวตนว่ามนุษย์สามารถเรียนรู้ ตรวจสอบ  และขัดเกลาเปลี่ยนแปลงตนเอง โดยการควบคุมจิต/ใจให้อยู่ในที่ทางที่เหมาะสม แล้วปล่อยให้จิต/ใจเป็นตัวชี้นำ  การมองตัวตนในลักษณะเช่นนี้ สะท้อนผ่านภาษาจีนที่มีคำใช้เรียก “ตัวเอง” สองแบบ คือ จื้อ (? ) ใช้เรียกการกระทำที่เราทำกับตัวเอง  กับจี่ ( ? ) ใช้เรียกการกระทำของคนอื่นที่เกี่ยวข้องกับตัวเรา  หรือการกระทำของเราที่กระทำต่อผู้อื่น  หรือความอยากความปรารถนาหรือการมีบางสิ่งที่มาจากตัวเอง  ความแตกต่างระหว่างคำทั้งสองคือคำแรกเป็นตัวเราสัมพันธ์กับตัวเราเอง  แต่คำหลังเป็นการตระหนักถึงตัวเราเองในลักษณะที่เป็นสิ่งแตกต่างกับผู้อื่น

นักคิดในสำนักขงจื่อมองแตกต่างกันในประเด็นว่า เราจะควบคุมจิต/ใจให้อยู่ในที่ทางที่เหมาะสมได้อย่างไร  เช่น  เมิ่งจื่อมองว่าจิต/ใจมีแนวโน้มทางศีลธรรมอยู่แล้ว ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นคุณธรรมได้    ส่วนสวินจื่อมองว่าจิต/ใจไม่ได้มีเชื้อหน่อทางศีลธรรมใดๆ จึงต้องขัดเกลาผ่านการร่ำเรียน แต่ไม่ว่าจะเห็นต่างอย่างไรทั้งหมดต่างก็เห็นพ้องกันว่า จิต/ใจทำหน้าที่ชี้นำในกระบวนการขัดเกลาตน   สามารถคงที่หนักแน่นได้โดยไม่แปรเปลี่ยนไปตามแรงผลักดันภายนอก เช่น เมิ่งจื่อเปรียบเทียบเจตจำนงของจิต/ใจว่าเหมือนผู้บัญชาการศึก  ส่วน สวินจื่อเปรียบจิต/ใจเหมือนกับผู้ปกครอง และประสาทสัมผัสคือขุนนาง  นอกจากนี้ ยังเห็นตรงกันอีกว่าจิต/ใจสามารถคิด ตรวจสอบ และพัฒนาการทำงานของตัวเองได้ว่า ได้เบี่ยงเบนไปจากวิถีแห่งศีลธรรมหรือไม่  นักปรัชญาสำนักขงจื่อต่อมาได้ให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวัง (ตู่  ?) ความอยากความปรารถนาที่เห็นแก่ตัวไม่ให้เกิดขึ้น   เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้จิต/ใจมนุษย์ต้องเปรอะเปื้อน

คำว่าจิต/ใจในที่นี้  มิได้มีความหมายอย่างเดียวกับจิตของทางตะวันตกสมัยใหม่  สำนักขงจื่อไม่ได้แยกจิตกับกายเช่นเดียวกับวิธีคิดแบบทวินิยม กล่าวคือ แม้ว่าสำนักขงจื่อจะแยกจิต/ใจออกจากส่วนต่างๆของร่างกาย แต่การแยกนั้นมิได้แยกที่เนื้อแท้ว่าเป็นสสารหรืออสสาร  หากแต่แยกโดยดูจากหน้าที่การทำงานซึ่งสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆของร่างกาย  คำว่า ซิน จึงรวมถึงหัวใจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย  และจิตที่คิดและรู้สึก ซึ่งทำหน้าที่ไตร่ตรอง ตรวจสอบตัวเอง ชี้นำการกระทำให้เหมาะสม  และกำหนดความเป็นบุคคลของคนๆนั้นทั้งหมด   การที่ซินต้องทำงานเกี่ยวข้องกับส่วนอื่นๆของร่างกายด้วย ทำให้สังเกตการทำงานของซินได้จากภายนอก เช่น จิต/ใจที่มีเจตจำนงสามารถควบคุมกำหนดชี่ได้  ในทางกลับกันถ้าชี่ไม่ได้รับการบำรุงดูแลอย่างเพียงพอ จิต/ใจก็อาจแกว่งได้  การขัดเกลาพัฒนาจริยธรรมแม้ว่าจิต/ใจจะเป็นส่วนสำคัญที่สุด  แต่เพราะจิต/ใจสัมพันธ์กับทุกส่วนของร่างกาย  การพัฒนาตนจึงครอบคลุมถึงทุกส่วนทั้งหมดของมนุษย์

อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงตัวตน จิต/ใจ และการขัดเกลาตน  สำนักขงจื่อมองเป็นความสัมพันธ์ในสองลักษณะ ประการแรกคือ ตัวตนที่แยกต่างจากสังคม  อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่าจิต/ใจสามารถดึงตัวเองออกมาคิดไตร่ตรองถึงตัวจิต/ใจเอง รวมทั้งชีวิต และพฤติกรรมต่างๆของเจ้าของจิต/ใจได้  ด้วยเหตุนี้ ปัจเจกบุคคลย่อมสามารถดึงตัวเองออกมาจากสังคมและประเมินตนกับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้อื่นได้ด้วย ในหลุนอี่ว์ มีตัวอย่างของคนที่หลีกลี้สังคม ซึ่งถอดตัวเองออกมาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตนกับสังคม  รวมทั้งวิพากษ์วิจารณ์สังคม  การเน้นตัวตนในลักษณะนี้ใน คัมภีร์เมิ่งจื่อ และสวินจื่อ จะปรากฎอย่างโดดเด่นมากกว่าในหลุนอี่ว์   ประการที่สอง ในขณะเดียวกันสำนักขงจื่อก็มองตัวตนว่าไม่อาจแยกออกจากสังคมได้  เพราะสิ่งที่แยกมนุษย์ออกจากสัตว์ได้ คือความสามารถทางสังคมที่แยกแยะได้ว่าอะไรเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ และกฎระเบียบของสังคม   อีกทั้งตัวตนและการขัดเกลาจารีตและคุณธรรมมิอาจทำคนเดียวแยกออกจากสังคมได้ เพราะการขัดเกลาเหริน  หลี่  อี้ ต้องอยู่ภายในโครงข่ายความสัมพันธ์กับผู้คน ตัวตนในความหมายนี้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงขนบจารีตจะสมเหตุสมผลหรือไม่  ต้องมาจากตัวตนที่มีส่วนร่วมในสังคมนั้นๆ

5. การขัดเกลาตน

สำหรับขงจื่อกระบวนการขัดเกลาตนต้องใช้การร่ำเรียนจากบทกวี ประวัติศาสตร์ จารีต ดนตรี และต้องใช้การคิดจากการฝึกฝนในสถานการณ์จริง  แต่หลังจากขงจื่อนักปรัชญาสำนักขงจื่อได้พัฒนาทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์  และจิต/ใจแตกต่างกัน  ทำให้มองเรื่องการขัดเกลาตนแตกต่างไปด้วย  อย่างเช่นสวินจื่อ และไทเจิ้นมองว่าธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วยส่วนที่เป็นความอยากความปรารถนาทางกาย  ดังนั้น การขัดเกลาตนจะต้องให้ความสำคัญกับส่วนนี้  สำหรับสวินจื่อการขัดเกลาก็คือการจัดการควบคุมเปลี่ยนแปลงความอยากความปรารถนานี้ของมนุษย์ เหมือนกับการดัดไม้ที่งอให้ตรง

ในขณะที่เมิ่งจื่อมองว่าธรรมชาติของมนุษย์มีแนวโน้มทางจริยะอยู่แล้ว เช่น มนุษย์ย่อมรู้สึกเห็นใจทันทีเมื่อเห็นเด็กทารกกำลังจะตกบ่อน้ำ และรู้สึกละอายใจเมื่อเห็นขอทานได้รับอาหารอย่างที่คนโยนอาหารให้สุนัข เป็นต้น  เมิ่งจื่อจึงมองว่าจิต/ใจสามารถรู้และรู้สึกได้ว่าอะไรเหมาะสม (อี้) และสามารถควบคุมจิต/ใจให้อยู่เหนือความต้องการทางกายได้  สำหรับเมิ่งจื่อการขัดเกลาตนมิใช่การควบคุมจัดการ แต่คือการพัฒนาและบำรุงเลี้ยง เชื้อหน่อทางจริยะในจิต/ใจให้สมบูรณ์  ดังนั้น มนุษย์ทุกคนจึงสามารถขัดเกลาตนจนเป็นปราชญ์ (เซิ่งเหริน  ?  ? )ได้

ส่วนนักปรัชญาสำนักขงจื่อใหม่อย่างจูซี และหวังหยางหมิง  ได้พัฒนาทัศนะของเมิ่งจื่อจนมีลักษณะที่แตกต่างออกไป  กล่าวคือ ในขณะที่เมิ่งจื่อมองว่าเชื้อหน่อในจิต/ใจจะต้องบำรุงเลี้ยงจึงจะเป็นคุณธรรมสมบูรณ์  แต่จูซีและหวังหยางหมิงมองว่าจิต/ใจมีคุณธรรมอยู่แล้วอย่างเต็มรูปแบบ  เพียงแต่ความอยากความปรารถนาที่เห็นแก่ตัวได้เข้ามาบดบัง ทำให้คุณธรรมที่มีอยู่แล้วนั้นไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มที่  เพราะการเห็นแก่ตัวทำให้ตัวตนแยกออกจากผู้อื่นและสิ่งต่างๆ ทำให้ออกห่างจากการมองว่าทุกสิ่งเป็นหนึ่งเดียว  ดังนั้น สำหรับนักคิดทั้งสองการขัดเกลาตนก็คือการรื้อฟื้นสภาวะดั้งเดิมของจิต/ใจ เปรียบเหมือนทำกระจกที่เปื้อนฝุ่นให้ใสสะอาด  เพียงแต่จูซีมองว่าต้องใช้การร่ำเรียน ในขณะที่หวังหยางหมิงมองว่าต้องปรับที่การทำงานของจิต/ใจ

การที่สำนักขงจื่อให้ความสำคัญกับการขัดเกลาตน อาจก่อให้เกิดข้อกังวลใจเรื่องความหลงผิดในการตั้งใจขัดเกลาตนได้สองประการด้วยกัน  ประการแรก การขัดเกลาตนอาจเกี่ยวข้องกับการใส่ใจความคิดเห็นของผู้อื่นมากเกินไป โดยเฉพาะในกรณีของการขัดเกลาคุณธรรมอย่างเหริน และ อี้   ทั้งนี้เป็นเพราะสองคำนี้มาจากบุคคลที่สามใช้บรรยายคุณธรรมที่คนๆหนึ่งมี มิได้มาจากการพิจารณาตัดสินจากผู้มีคุณธรรมนั้นเอง  ดังนั้น การขัดเกลาตนให้เหมือนจวินจื่อซึ่งเป็นแบบอย่างของผู้มีคุณธรรมอันสมบูรณ์ จึงเข้าใจได้ว่าเป็นการขัดเกลาตามมุมมองของผู้อื่น  อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหานี้อาจไม่ใช่ข้อน่ากังวลแต่อย่างใด เพราะการใช้คำเพื่อบอกว่าปราชญ์มีคุณธรรมเหรินกับอี้ อาจเป็นมุมมองของบุคคลที่สามซึ่งมาจากตัวเราเอง มิใช่เป็นมุมมองเกี่ยวกับเราที่มาจากจากคนอื่นเสมอไป  อีกทั้งเวลาที่เราขัดเกลาตนตามจวินจื่อ เราขัดเกลาเพื่อให้มีลักษณะนิสัยเหมือนปราชญ์  มิใช่ขัดเกลาเพื่อให้เหมือนคำบรรยายที่คนอื่นมองปราชญ์  ประการที่สอง  การขัดเกลาตนอาจเกี่ยวข้องกับการใส่ใจมุมมองเกี่ยวกับตัวเองมากเกินไป  ซึ่งอาจแบ่งเป็นสองลักษณะด้วยกัน  1)  เราอาจนำหรือส่งเสริมภาพลักษณ์ของเราว่าเป็นบุคคลทางจริยะ 2) เราอาจพิจารณาลักษณะนิสัยของเราว่ามีความสำคัญทางจริยะมากกว่ามุมมองของคนอื่น   ในกรณีการขัดเกลาคุณธรรมข้อกังวลประการที่สองนี้ไม่เป็นปัญหา เพราะอย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าการขัดเกลาตนเป็นการขัดเกลาลักษณะนิสัยโดยมีปราชญ์เป็นแบบอย่างซึ่งอาจไม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตัวเรา  แต่ในกรณีของการกระทำเฉพาะ ข้อกังวลที่ว่าเราอาจนำภาพลักษณ์ของเราเข้ามาเกี่ยวข้องเวลากระทำพฤติกรรมที่แสดงความมีคุณธรรม อาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้  ยกตัวอย่างเช่น สมมติเวลาช่วยเหลือผู้อื่นเราทำโดยคิดว่าเราต้องทำในสิ่งที่เป็นเหริน  ซึ่งอาจถามได้ว่าเราทำเพราะเป็นลักษณะนิสัยของผู้มีคุณธรรมเหริน ที่จะทำในสิ่งที่เป็นเหริน  หรือ เราทำเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของเราเองว่าเป็นผู้มีคุณธรรมเหริน  อย่างไรก็ตาม นักปรัชญาสำนักขงจื่อก็มิได้ให้ข้อแนะนำชัดเจนว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร  อย่างเช่นในกรณีของเด็กที่กำลังจะคลานตกบ่อน้ำ  การมีใจสงสาร หรือเข้าไปช่วยทันทีที่ได้เห็นเหตุการณ์อาจมาจากลักษณะนิสัยเหรินของคนนั้น  หรืออาจจะมาจากมุมมองของคนอื่นก็ได้ว่าถ้าเข้าไปช่วยจะเป็นการแสดงเหริน แต่ถึงแม้จะเป็นแบบหลังก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการขัดเกลาตน ซึ่งการขัดเกลาลักษณะนิสัยอาจมาจากการทำตามมุมมองของคนอื่นร่วมด้วย

6. การสืบทอดขนบขงจื่อ

สำนักขงจื่อก็เหมือนกับขนบทางจริยะและศาสนาที่เก่าแก่อื่นๆของโลก ที่มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าล้าสมัย ไม่อาจแก้ปัญหาในปัจจุบันได้ ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการที่สำนักขงจื่อให้ความสำคัญกับการสืบทอดขนบจารีต ทำให้ผู้ยึดถือขนบธรรมเนียมขงจื่อหลายๆ ท่านดื้อรั้น  ไม่ยอมรับข้อเสนอในการปรับเปลี่ยนจารีตซึ่งมีเหตุผลสมควร อย่างไรก็ตาม เราควรแยกแยะระหว่างการให้คุณค่าส่วนบุคคลกับคุณค่าที่มีอยู่ในตัววัฒนธรรมนั้นเอง การทำความเข้าใจขนบธรรมเนียมที่ยังมีชีวิตจำเป็นจะต้องแยกแยะระหว่างโลกทัศน์ของนักคิด และสำนักทางความคิดในประวัติศาสตร์  รวมทั้งความแตกต่างระหว่างขนบธรรมเนียมที่ยังมีชีวิต กับที่เสื่อมสลายและกำลังจะตาย  วิถีแห่งสำนักขงจื่อมิได้เป็นการให้หลักการสูงสุดสำหรับเป็นแบบแผนปฏิบัตตายตัว หากแต่มีลักษณะของการให้วิสัยทัศน์และแก่นทางอุดมการณ์ในการมีชีวิตที่ดี โดยสามารถยึดหยุ่นตีความได้ตามความแปรเปลี่ยนของสถานที่และยุคสมัย

ประเด็นปัญหาเรื่องการสืบทอดขนบจารีต  (เต๋าถ่ง  ?   ?  )  อยู่ในความสนใจของนักปรัชญาสำนักขงจื่ออย่างเช่น สวินจื่อ และจูซี เป็นต้น อันแสดงให้เห็นว่าข้อวิพากษ์วิจารณ์ข้างต้นเป็นการพิจารณาสำนักหรูเพียงบางกลุ่ม  สวินจื่อแบ่งสำนักหรูเป็นสามประเภท คือ พวกที่ยึดถือแต่การทำตามประเพณีอย่างเดียว  (สูหรู  ?  ? ) พวกที่ได้รับการขัดเกลาทางจริยะ  (หย่าหรู   ?   ?  ) และพวกที่เป็นจวินจื่อหรือปราชญ์ (ต้าหรู  ?   ? )  ทั้งซุ่นจื่อและจูซีให้ความสำคัญกับการสืบทอดจารีตด้วยการศึกษาร่ำเรียนวรรณคดีโบราณ โดยเริ่มจากการศึกษาวรรณคดีก่อนแล้วจึงศึกษาขนบจารีต (หลี่) เพื่อจะได้เป็นปราชญ์  การศึกษาวรรณคดีช่วยในการขัดเกลา  อย่างเช่น ซูจิง (ว่าด้วยประวัติศาสตร์) ทำให้เห็นความสำคัญในการกระทำของมนุษย์   เย่ว์จิง (ว่าด้วยดนตรี) ทำให้เห็นความสัมพันธ์ที่กลมกลืน เป็นต้น  แต่ก็จำเป็นต้องอาศัยคำแนะนำจากครู เพราะการศึกษาคัมภีร์ หลี่จิง (ว่าด้วยจารีต) และ เย่ว์จิง จะได้เพียงแค่รูปแบบเท่านั้น แต่ไม่มีคำอธิบาย เป็นต้น

การศึกษาร่ำเรียนของเก่ามิได้หมายความว่าศึกษาเพื่อท่องจำเท่านั้น แต่ต้องตีความและวิพากษ์วิจารณ์ด้วย อย่างที่สวินจื่อเองก็ได้โต้แย้งเมิ่งจื่อในการโยงศีลธรรมกับธรรมชาติของมนุษย์ไว้ด้วยกัน  นอกจากนี้ การสืบทอดจารีตมิใช่เพียงร่ำเรียนของเก่าและวิพากษ์วิจารณ์แนวคิดในสำนักคิดด้วยกันเท่านั้น แต่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิดต่างสำนักด้วย  อย่างที่สวินจื่อโต้แย้งโจมตีม่อจื่อ  ฮุ่ยจื่อ  เหลาจื่อและจวงจื่อ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าขนบธรรมเนียมขงจื่อที่สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องมีลักษณะของการตีความปรับแปรความหมายได้ ซึ่งนอกจากสืบทอดผ่านการศึกษาร่ำเรียนวรรณคดีและจารีตแล้ว ยังผ่านบทบาทหน้าที่ของครูที่เป็นบุคคลต้นแบบอย่างจวินจื่อด้วย   กล่าวคือ นอกจากจวินจื่อจะต้องถึงพร้อมด้วยคุณธรรมเหริน หลี่ อี้ และอื่นๆแล้ว  จะต้องเป็นแบบอย่างเพื่อสืบทอดมาตรฐาน และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น     ด้วยเหตุนี้ จวินจื่อจึงต้องดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองอย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว  แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในการประเมินและตีความขนบ  เพื่อคงวิถีเดิมและสร้างเสริมใหม่อย่างต่อเนื่อง

ประเด็นปัญหาที่ถามได้คือ หากขนบขงจื่อสามารถตีความปรับแปรความหมายได้  การตีความนั้นจะต้องเป็นอย่างไรถึงจะไม่เป็นการกระทบการรักษาสืบทอดขนบของเดิมไว้ ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่าง จิง (มาตรฐาน ? ) และ เฉวียน (การประเมินสถานการณ์ ? )  เฉวียนอาจเป็นจิงได้ในกรณีของการประเมินสถานการณ์เฉพาะ  กล่าวคือจิงจะกำหนดเป็นหลักเกณฑ์ของพฤติกรรมได้ ก็ขึ้นอยู่กับ เฉวียนในความหมายที่เมื่อพิจารณาปรับใช้ในกรณีเฉพาะแล้วจะไม่ทำให้หลักการเสียไป  โดยอยู่บนสมมติฐานด้วยว่าการพิจารณาตัดสินนั้นจะต้องเป็นที่ยอมรับตามการตีความของชุมชน จิงจึงกำหนดเฉวียน  ในทางกลับเฉวียนก็กำหนดจิงเช่นเดียวกัน   การปฏิบัติเฉวียนอย่างมีประสิทธิภาพเกี่ยวข้องกับคุณธรรมอี้ด้วย  ในการประเมินนั้นจะต้องยึดการทำในสิ่งที่ถูกต้องเป็นหลัก  ทั้งนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นปัญหาศีลธรรมเท่านั้น หากแต่รวมถึงกรณีเหตุการณ์ธรรมดาที่เกิดปัญหาการตีความและการปรับใช้   ความสัมพันธ์ระหว่างจิงกับเฉวียนจึงมีลักษณะเป็นพลวัตร ไม่ตายตัว  ทำให้ขนบจารีตทั้งคงอยู่ (ฉาง ?) และเปลี่ยนแปลงได้ (เปี้ยน  ?  )  ในเวลาเดียวกัน

ปรัชญาสำนักขงจื่อก็เหมือนระบบความคิดอื่น ที่มีปัญหาในการตีความและการประมวลสร้างความเข้าใจอย่างเป็นระบบ  บทเรียบเรียงนี้เพียงแต่เน้นส่วนที่เป็นพื้นฐานความคิด และคัดเลือกประเด็นสำคัญอย่าง มโนทัศน์ตัวตน การขัดเกลาตน  การเปลี่ยนแปลงและสืบทอดจารีต มาอธิบายพอสังเขปเท่านั้น  หากจะเข้าใจปรัชญาสำนักขงจื่อมากขึ้นจำเป็นต้องพิจารณาเรื่อง ธรรมชาติของมนุษย์  บทบาทหน้าที่ของอารมณ์  บทบาทและพื้นที่ของกฎหมายในสังคมอุดมคติ  การเมืองการปกครอง  และฐานทางอภิปรัชญาของ เต๋า โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติเพิ่มเติม ทั้งนี้ผู้สนใจควรศึกษาควบคู่ไปกับประวัติปรัชญาจีน และเชื่อมโยงกับข้อถกเถียงของปรัชญาตะวันตกที่เกี่ยวข้องด้วย

##################

ปรัชญาขงจื้อ

ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น

-การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว

-บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้

คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ขอตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม

-บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่องที่ขอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึง ถึงคุณธรรม

-ผู้มีคุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา

-ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย

-จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล

-บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น

คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอยู่เวลา

-ยังปรนนิบัติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า

-ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้

-ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้องตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน

-เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขา จะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ

-ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย

-ตำหนิตนเองให้มาก ตำหนิผู้อื่นให้น้อย ก็จะไม่มีใครโกรธแค้น

-บัณฑิตขอร้องกับตนเอง ส่วนคนพาลนั้นจะขอร้องกับคนผู้อื่น

-บัณฑิตมีความภาคภูมิใจในตนเอง โดยไม่แย่งชิงความภาคภูมิใจของคนอื่น บัณฑิตมีความสามัคคี แต่ไม่เล่นพวกกัน

-พูดไพเราะตลบแตลง ทำให้สูญเสียคุณธรรม

เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย

-ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา

-เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง ๓ ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา

-เพื่อนที่ประจบสอพลอ เพื่อนที่ทำอ่อนน้อมเอาใจ เพื่อนที่ชอบเถียงโดยไม่มีความรู้ ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นภัยแก่เรา

-บัณฑิตมีความกลัวอยู่ ๓ ประการ

กลัวประกาศิตของสวรรค์

กลัวผู้มีอำนาจ

กลัวคำพูดของอริยบุคคล

-อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์

-ทบทวนเรื่องเก่า และรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้

-นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา

-ชอบเอาสองคนมาเทียบกันว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น

-ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ

-ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตาชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน

-เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน

สิ่งที่แข็งที่สุด เอาชนะได้ด้วยสิ่งที่อ่อนที่สุด

เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกบานหนึ่งก้อเปิดแต่บ่อยครั้งที่เรามัวแต่จ้องประตูบานที่ปิดจนไม่ทันเห็นว่ามีอีกบานที่เปิดอยู่

อย่ามัวค้นหาความผิดพลาด จงมองหาหนทางแก้ไข

อารมณ์ขันเป็นสิ่งยอดเยี่ยมที่สุดที่ช่วยรักษาสิ่งอื่นได้ เพราะทันทีที่เกิดอารมณ์ขันความรำคาญและความขุ่นข้องหมองใจจะมลายไปกลับกลายเป็นความเบิกบานแจ่มใสของจิตใจเข้ามาแทนที่

อย่ากลัวที่จะนั่งหยุดพักเพื่อคิด

1 นาทีที่คุณโกรธเท่ากับคุณได้สูญเสีย 60 วินาทีแห่งความสงบในจิตใจไปแล้ว

หนทางเดียวที่จะรักษาภาพพจน์ได้คือการซื่อสัตย์ตลอดเวลา

ผู้ชนะไม่เคยลาออก และผู้ลาออกก็ไม่เคยชนะ

ออกซิเจนสำคัญต่อปอดเช่นไร ความหวังก็เป็นเช่นนั้นต่อความหมายของชีวิต

การมีชีวิตอยู่นานเท่าใดมิใช่สิ่งสำคัญ สิ่งสำคัญก็คือ มีชีวิตอยู่อย่างไร

เราเข้าใจชีวิตเมื่อมองย้อนหลังเท่านั้น แต่เราต้องดำเนินชีวิตไปข้างหน้า

เราไม่อาจล้างมือที่แปดเปื้อนซ้ำได้เป็นครั้งที่ 2 ในสายน้ำไหล(สุภาษิต ทิเบต)

ไม่มีสิ่งใดช่วยให้คุณได้เปรียบคนอื่นมากเท่ากับการควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่งอยู่ตลอดเวลาในทุกสถานการณ์

ความอดทนคือเพื่อนสนิทของสติปัญญา

พรสวรรค์ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ คือ การที่เราสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเราได้

ในธรรมชาติไม่มีสิ่งใดดีพร้อม แต่ทุกอย่างก็สมบูรณ์แบบในตัวเอง ต้นไม้อาจบิดเบี้ยวโค้งงออย่างประหลาด แต่ก็ยังคงความงดงาม

มักพูดกันว่ากาลเวลาเปลี่ยนทุกสิ่ง แต่จริงๆแล้ว คุณต้องเปลี่ยนทุกสิ่งด้วยตนเอง

#################

วาทะขงจื้อ

-เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม

-ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น

-การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น

-การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว

-บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้ คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม

-บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม

-ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน

-ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา

-บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล

-ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย

-จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล

-ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ

สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า

-บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา

-อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว

-กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น

-ยังปรนนิบัติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า

-บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี

-ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก

-ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้

-ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน

-เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ

-บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป

-ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย

-ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน

-ตำหนิตนเองให้มาก ตำหนิผู้อื่นให้น้อย ก็จะไม่มีใครโกรธแค้น

-รวมอยู่กันเป็นหมู่ ตลอดวันไม่เคยพูดถึงธรรมที่ชอบ ทำตนเป็นคนฉลาดในเรื่องเล็กๆน้อย ต่อไปเห็นจะลำบาก

-บัณฑิตขอร้องกับตนเอง ส่วนคนพาลนั้นจะขอร้องกับคนผู้อื่น

-บัณฑิตทีความภาคภูมิใจในตนเอง โดยไม่แย่งชิงความภาคภูมิใจของคนอื่น บัณฑิตมีความสามัคคี แต่ไม่เล่นพวกกัน

-พูดไพเราะตลบแตลงทำให้สูญเสียคุณธรรม เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย

-ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา

-เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง 3 ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา

-เพื่อนที่ประจบสอพลอ เพื่อนที่ทำอ่อนน้อมเอาใจ เพื่อนที่ชอบเถียงโดยไม่มีความรู้ ทั้ง 3 ประการนี้เป็นภัยแก่เรา

-บัณฑิตมีความกลัวอยู่ 3 ประการ กลัวประกาศิตของสวรรค์ กลัวผู้มีอำนาจ กลัวคำพูดของอริยบุคคล

-นิสัยคนมีความเหมือนกัน แต่การศึกษาทำให้แตกต่างกัน

-เฉพาะคนที่มีปัญญาสูง กับคนที่โง่มากเท่านั้น ที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงเขาได้

-รักความเมตตาแต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ถูกหลอกลวงง่าย รักความรู้แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ความรู้นั้นกระจัดกระจายไม่มีฐานที่ตั้ง

-รักความซื่อสัตย์ แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่เป็นภัยแก่ตนโดยง่าย รักพูดตรงความจริง แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่การพูดจะเป็นการทำร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย

-รักความกล้าหาญ แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ก่อความไม่สงบได้ง่าย รักความเข้มแข็ง แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่เป็นคนมุทะลุได้ง่าย

-อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์

-ทบทวนเรื่องเก่าและรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้

-นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา

-ชอบเอาสองคนมาเทียบว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น

-แสร้งพูดไพเราะ แสดงความน่ารัก เพื่อให้ถูกใจคน คนประเภทนี้น้อยนักที่จะเป็นคนมีเมตตาธรรม

-ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ

-ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตา ชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน

-ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น เวลาพูด เขาพูดอย่างเชื่องช้า ไม่พูดเชื่องช้าได้หรือ เพราะเมื่อพูดไปแล้ว ต้องทำตามที่พูดด้วยความลำบาก

-ผู้ที่มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ซื่อสัตย์ พูดช้าก็ใกล้กับความมีเมตตาธรรมแล้ว

-ผู้มีคุณธรรมต้องมีคำพูดที่ดี แต่ผู้มีคำพูดที่ดี ไม่ต้องใช่เป็นคนที่มีคุณธรรมเสมอไป

-ผู้มีเมตตาธรรมต้องเป็นผู้ที่กล้าหาญ แต่ผู้กล้าหาญ ไม่ใช่ต้องเป็นคนที่มีเมตตาธรรมเสมอไป

-เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน

-บัณฑิตให้ความเมตตากรุณาแก่ผู้อื่น ใช้คนทำงานแต่คนไม่โกรธแค้น ความต้องการของเขาไม่เป็นความโลภ มีความสงบแต่ไม่มีความเย่อหยิ่ง มีความสง่าแต่ไม่มีความโหดเหี้ยม..

#######################

สุภาพชนควรระวังในสามสิ่งนี้

+ + เมื่ออายุยังน้อยเลือดลมและก็กำลังวังชายังไม่อยู่ตัว ท่านว่า ให้หลีกเลี่ยงในเพศรส กามารมณ์

+ + เจริญวัยมีเลือดลมกำลังวังชาเต็มที่ ท่านว่า

ให้หลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้ง

+ + แก่ตัวเลือดลมกำลังวังชาลดน้อยถอยลง ท่านว่า

ให้ระวังความละโมบโลภมาก

สุภาพชนพึงใคร่ครวญในเก้าสิ่งนี้

+ ๑ + ยามที่มองให้นึกถึงการเห็นชัด

+ ๒ + ยามฟังให้นึกถึงสิ่งที่ได้ยินชัด

+ ๓ + ยามแสดงอารมณ์ต้องให้ดูฉันมิตร

+ ๔ + มีมารยาทอันงาม

+ ๕ + ยามที่พูดให้นึกถึงความซื่อสัตย์

+ ๖ + ลงมือทำงานให้นึกถึง การทำให้ดีที่สุด

+ ๗ + ยามที่เกิดความสงสัยให้นึกถึงการถาม

+ ๘ + เวลาโกรธขึ้นมาให้นึกถึงผลในภายหลัง

+ ๙ + เมื่อแลเห็นผลประโยชน์ที่จะได้ให้นึกว่าสมควรหรือไม่

################

Credit : ขอบคุณข้อมูลจาก

http://www.philospedia.net/confucianism.html

http://www.radompon.com/webboard/index.php?topic=114.msg178

http://www.pantown.com/board.php?id=25350&area=3&name=board3&topic=1&action=view

http://watsunmamout.igetweb.com/index.php?mo=3&art=20745

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=bluepoppy&date=20-11-2007&group=2&gblog=1

Author: admin

11 thoughts on “ขงจื๊อ ลัทธิขงจื๊อ ปรัชญา วาทะและคำสอนของขงจื้อ (Confucianism)

  1. รู้สึกหลังๆนี่จะมั่วๆนะเนี่ย ได้จากที่ไหนมามั่งหรอคับ เหมือนจะไม่ตรงกับที่เคยรู้่มาหนะครับ

    สมัยนั้นยังไม่มีออกซิเจน?

  2. สมัยนั้นยังไม่มีออกซิเจน?

    อะไรกันครับถ้ายังไม่มีออกซิเจน แล้วสิ่งมีชีวิตจะอยุ่ได้อย่างไรครับ

    555555555555555555+

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.